soup   van club                    
     
การท่องเที่ยว ที่มากกว่า การเที่ยวท่อง ..!!                    
     





soup van club     การท่องเที่ยว ที่มากกว่า การเที่ยวท่อง ..!!     ติดตามข่าวสารการท่องเที่ยว ... แวะมาเยี่ยมกันบ่อยๆ นะ คร๊าบ ..


บริษัท ไทยฮอตสปอต เน็ตเวิร์ค จำกัด สนใจโฆษณา Welcome to JustUsers.net
จีพีเอสเที่ยวไทยดอทคอม

....::::    ::::....         สมัครสมาชิกเว็บ ง่ายๆ ถ้ามีเฟซบุ๊คอยู่แล้ว     ในขั้นตอนสมัครสมาชิก   เจอหน้าแรก "กดยอมรับข้อตกลงของเว็บ Soup Van Club"     หน้าต่อไป ให้กดที่ภาพ   "ภาพเฟซบุ๊ค"   แล้วป้อนอะไรนิดหน่อย     จากนั้นรอสักครู่ ระบบจะพาเข้าเว็บอัตโนมัติ ..!!       ....::::    ::::....

ผู้เขียน หัวข้อ: จิตรกรรมฝาผนังหาชมยาก ที่ วัดพระสิงห์วรมหารวิหาร เชียงใหม่  (อ่าน 4160 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออนไลน์ ลุงซุป เชียงใหม่

  • soup chiangmai
  • Administrator
  • *
  • กดนิ้วโป้ง.! แทนคำขอบคุณ
  • -มอบให้: 631
  • -จึงได้รับ: 949
  • กระทู้: 2029
  • กำลังใจ : +928/-0
  • ลุงซุป เชียงใหม่
  • ระบบปฏิบัติการ:
  • Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
  • เบราเซอร์:
  • Chrome 85.0.4183.102 Chrome 85.0.4183.102
    • <b>กลุ่มพิเศษ..</b>
  • สมาชิกลำดับที่: 1
Share: โพสกระทู้นี้ลงใน Twitter ของคุณ  โพสกระทู้นี้ลงใน Facebook ของคุณ...              


วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เชียงใหม่
ศูนย์กลางพุทธศาสนาที่มีหอธรรมงดงามที่สุดของภาคเหนือ และชมจิตรกรรมฝาผนังที่หาชมยากในไทย

          เชียงใหม่ ถือเป็นจังหวัดที่เป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั้งไทยและเทศ และยังถือเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีวัดมากมาย ทั้งวัดที่ยังมีพระอยู่และวัดร้าง ในบรรดาวัดนับสิบนับร้อยนั้นมีหลายวัดที่เป็นสถานที่ห้ามพลาดสำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังเชียงใหม่เป็นครั้งแรก หนึ่งในนั้นคือวัดที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากและเป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่สำคัญที่สุดองค์หนึ่งของชาวล้านนาก็คือ "วัดพระสิงห์" นั่นเอง

          แต่แรกเริ่มเดิมที วัดพระสิงห์ มีชื่อว่า "วัดลีเชียงพระ" เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้ตลาดกลางเมือง คำว่า ลี เป็นภาษาล้านนา แปลว่า ตลาด ผู้สร้างวัดพระสิงห์ คือ พญาผายู เมื่อ พ.ศ.1888 เพื่อเป็นที่ประทับของพระมหาอัคญะจุฬเถระที่ทรงอาราธนาจากเมืองหริภุญไชย (คำนี้สะกดถูกแล้วนะครับ ผมใช้วิธีการสะกดแบบเก่า) ซึ่งในสมัยนั้นถือเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาในพื้นที่ภาคเหนือ

          ดังนั้น การทำเช่นนี้จึงมีนัยของการย้ายศูนย์กลางพุทธศาสนามายังเชียงใหม่ ส่วนชื่อ "วัดพระสิงห์" นั้นเกิดขึ้นเมื่อพญาแสนเมืองมาอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานยังวัดนี้ เพราะชาวเหนือนิยมเรียกพระพุทธสิหิงค์ว่า "พระสิงห์" คำนี้ต่อมาจึงกลายเป็นคำที่ใช้เรียกพระพุทธรูปในศิลปะล้านนาด้วย ได้แก่ พระพุทธรูปแบบสิงห์ 1 สิงห์ 2 แต่การอัญเชิญพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์นี้มาประดิษฐานยังวัดแห่งนี้ ทำให้วัดนี้กลายเป็นที่มีความสำคัญต่อเชียงใหม่มาต่อเนื่องทุกยุคสมัยนับแต่อดีตถึงปัจจุบัน




          สิ่งแรกที่เราจะเห็นเมื่อผ่านประตูวัดเข้าไปก็คือ วิหารหลวง ซึ่งอาคารหลังปัจจุบันนี้เป็นผลงานในสมัยของครูบาเจ้าศรีวิชัยเมื่อ พ.ศ.2467 แทนที่อาคารทรงจัตุรมุขหลังเดิม อาคารหลังนี้ถือเป็นอีกหนึ่งอาคารที่แสดงการผสมผสานระหว่างศิลปะรัตนโกสินทร์และศิลปะล้านนา ดูได้ง่ายๆ จะหน้าบันด้านหน้าเลยครับ เพราะมีการประดับด้วยรูปนารายณ์ทรงครุฑล้อมรอบด้วยลายพันธุ์พฤกษาซึ่งเป็นลวดลายที่ไม่ปรากฏในศิลปะล้านนา โดยมีการแทรกรูปเสือ สัญลักษณ์ประจำปีเกิดของครูบาเจ้าศรีวิชัย นั่นก็คือปีขาล





          ภายในวิหารหลวงเป็นที่ประดิษฐานพระศรีสรรเพชญ (ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับวัดพระศรีสรรเพชญ์นะครับ) พระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นพระประธานเดิมของวิหารหลวงหลังเก่าก่อนที่จะถูกสร้างใหม่ในสมัยของครูบาเจ้าศรีวิชัย นอกจากพระศรีสรรเพชญแล้วยังมีพระพุทธรูปขนาดเล็กอีกหลายองค์ทั้งยืนและนั่งเลยครับผม

ภายในวิหารหลวงยังมีภาพถ่ายเก่าที่น่าสนใจหลายภาพ ทั้งภาพถ่ายเก่าของวัด รวมไปถึงภาพเมื่อครั้งรัชกาลที่ 9 เสด็จฯ มายังวัดนี้ด้วยครับ




          ด้านหลังของวิหารหลวงเป็นที่ตั้งของอุโบสถของวัด สังเกตได้จากเสมาที่ตั้งอยู่รอบ แต่เสมาของวัดพระสิงห์จะต้องเรียกว่า "หลักเสมา" ไม่ใช่ "ใบเสมา" นะครับ เพราะหน้าตาของเสมานี้มีลักษณะคล้ายเสาปักลงในดิน ไม่ใช่ใบเสมาแบบที่เราคุ้นเคยกัน แต่นั่นยังไม่ใช่ความน่าสนใจที่สุดของอาคารหลังนี้ เพราะสิ่งที่เด็ดที่สุดของอาคารหลังนี้คือการประดิษฐานพระประธาน ตามปกติแล้วพระประธานจะตั้งอยู่ด้านในสุดของวิหารหรืออุโบสถใช่ไหมครับ แต่ที่นี่ไม่ใช่ เพราะพระประธานตั้งอยู่ภายในกู่พระเจ้า ณ กึ่งกลางอาคารเลยครับ ทำให้ท่านสามารถนมัสการพระพุทธรูปได้ทั้งสองฝั่ง ส่วนสาเหตุที่ทำเช่นนี้นั้นปัจจุบันยังไม่มีข้อยุติเลยครับ





          เยื้องกับอุโบสถคือ วิหารลายคำ วิหารที่แม้จะมีประวัติกล่าวว่าสร้างมาแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2061 แต่อาคารที่เห็นตอนนี้เป็นวิหารที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 25 ถือเป็นวิหารแบบล้านนาแท้ๆ จำนวนน้อยที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันและยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์มากๆ ด้วย หลังอื่นๆ ที่ยังเหลืออยู่ อาทิ วัดต้นเกว๋น จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งชื่อ "วิหารลายคำ" นี้มีที่มาจากสิ่งที่คุณจะได้เห็นข้างในวิหารหลังนี้ครับ




          เมื่อเข้ามาภายในวิหารลายคำ สิ่งแรกที่ผมเชื่อว่าทุกท่าจะเห็นก็คือแถวเสาที่บังคับสายตาให้มองตรงไปยังพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปที่สำคัญที่สุดประดิษฐานอยู่โดยมีลายคำ หรือลวดลายสีทองบนพื้นสีแดงซึ่งได้รับการยกย่องว่างดงามที่สุดในล้านนา โดยลายคำของวัดพระสิงห์เป็นรูปกู่พระเจ้า มังกรจีน หงส์ และลายเมฆแบบจีน ซึ่งต่างก็เป็นลายมงคลจีนและยังเป็นสิ่งที่เสริมความขรึมขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ และสื่อทิพยสภาวะของสวรรค์ด้วยครับ





          สำหรับพระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธรูปที่มีตำนานว่าสร้างขึ้นในลังกาตั้งแต่ พ.ศ. 700 แต่จากรูปแบบของพระพุทธรูปองค์นี้จะพบเป็นว่าพระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธรูปแบบล้านนาสิงห์ 1 ที่สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 20 โดยชื่อพระพุทธสิหิงค์หรือพระสิงห์นี้ ฝ่ายหนึ่งอธิบายว่าหมายถึงลักษณะท่าทางองอาจดุจราชสีห์ แต่อีกฝ่ายหนึ่งว่าน่าจะสัมพันธ์กับคำในภาษามอญว่า "สฮิง - สเฮย" ซึ่งแปลว่า อันเป็นที่น่าอภิรมย์ใจ ซึ่งสอดคล้องกับตำนานของพระปฏิมาที่เล่าว่า เมื่อได้เห็นพระพุทธรูปองค์จะรู้สึกอภิรมย์ใจหรือยินดีประดุจได้เห็นพระพุทธเจ้า

          ด้วยความสำคัญนี้ ทำให้เกิดการจำลองพระพุทธสิหิงค์ขึ้นมากมายในดินแดนล้านนา ไม่เพียงเท่านั้น ต่อมาเมื่อเกิดศึกยวนพ่ายระหว่างอยุธยาและล้านนา คตินี้ก็เดินทางข้ามจากเชียงใหม่ลงสู่อยุธยา ทำให้เกิดการสร้างพระพุทธสิหิงค์ขึ้นในศิลปะอยุธยาด้วย โดยองค์ที่เราน่าจะคุ้นเคยกันมากที่สุดก็คงจะเป็นองค์ที่ปัจจุบันอยู่ที่หอพระพุทธสิหิงค์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

มีเกร็ดอีกสักเรื่องสองเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธสิหิงค์จะขอเล่าให้ฟังสักหน่อยก่อนเราจะไปต่อกันครับ

          ข้อแรก พระพุทธรูปองค์นี้แต่เดิมเชื่อกันว่าประดิษฐานอยู่ภายในกู่มณฑปท้ายวิหาร (ถ้ามองจากด้านนอกจะเห็นว่า จะมีกู่ปราสาทสีขาวต่ออยู่บริเวณท้ายวิหารลายคำครับ) แต่ปัจจุบันได้อัญเชิญมาประดิษฐานภายในวิหารลายคำแล้วครับ

          ข้อสอง พระเศียรของพระพุทธรูปองค์นี้ที่เห็นในปัจจุบันเป็นพระเศียรใหม่ที่สร้างขึ้นแทนพระเศียรเดิมที่ถูกลักลอบตัดเมื่อ พ.ศ. 2464 ดังนั้น ถ้าอยากจะเห็นพระพุทธรูปที่ใกล้เคียงกับพระพุทธสิหิงค์องค์ดั้งเดิมที่สุด ขอเชิญที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ เลยครับ ที่นี่เก็บรักษาพระพุทธรูปที่เคยประดิษฐานอยู่ร่วมกับพระพุทธสิหิงค์และมีอายุอยู่ในสมัยเดียวกันครับ




          ไม่เพียงแต่พระประธานกับลายคำ ที่นี่ยังมีจิตรกรรมฝาผนังด้วย แถมที่นี่ยังเขียนเรื่องราวที่แปลกและหาชมได้ยากในประเทศไทย โดยถ้าเราเดินเข้ามาในวิหารแล้ว ฝั่งขวาเป็นเรื่องสังข์ทองที่ผมเชื่อว่าเราๆ ท่านๆ น่าจะคุ้นเคยกับเรื่องของพระสังข์กับนางรจนา ส่วนฝั่งซ้ายเป็นเรื่องสุวรรณหงส์ เรื่องราวของสุวรรณหงส์และนางเกศสุริยง เราอาจจะไม่คุ้นเคยกับเรื่องสุวรรณหงส์แต่ทั้งสองเรื่องต่างก็เป็นวรรณคดีที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันในสมัยรัตนโกสินทร์




          ถ้าใครสงสัยว่าทำไมที่นี่ไม่เขียนเรื่องพุทธประวัติ ชาดก แต่เขียนวรรณคดีแทนล่ะ สันนิษฐานกันว่าน่าจะเกิดขึ้นจากการบูรณะวิหารลายคำในรัชกาลของเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ กษัตริย์เชียงใหม่ผู้เคยเสด็จฯ มายังกรุงเทพมหานครในช่วงเวลาหนึ่ง จึงเชื่อกันว่าพระองค์น่าจะได้ทรงเห็นขนบธรรมเนียมอย่างใหม่ที่เกิดขึ้นในเมืองบางกอกครั้งนั้น ที่เริ่มมีการนำวรรณคดีมาเขียนบนฝาผนังมาก่อนแล้ว อาทิ พระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม





          ทีนี้เราลองไปชมของจริงกันสักนิด ฝั่งขวาที่เขียนเรื่องสังข์ทองนั้น ช่างที่เขียนเลือกฉากตั้งแต่ตอนที่นางยักษ์พันธุรัตพบพระสังข์ ไปจนถึงตอนที่เงาะป่ากำลังจะไปทำภารกิจของท้าวสามนต์ในการหาปลา 100 ตัว ส่วนฝั่งซ้ายที่เขียนเรื่องสุวรรณหงส์นั้นจะเล่าเรื่องตั้งแต่ตอนที่สุวรรณหงส์เสด็จฯ ตามว่าวไปจนถึงปราสาทที่นางเกศสุริยงอยู่ ไปจนถึงตอนที่ยักษ์กุมภณฑ์ช่วยสุวรรณหงส์จากนางผีเสื้อน้ำที่แปลงเป็นเกศสุริยง

          ถ้าใครพอจะจำเนื้อเรื่องทั้งสองเรื่องได้ก็จะสามารถเพลิดเพลินไปกับการดูวิธีการแสดงฉากๆ ต่างโดยช่างโบราณ แต่ถ้าใครจำไม่ได้ เรายังสามารถหาอะไรสนุกๆ ดูกันที่นี่ได้เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นภาพคนจีนที่เชื่อกันว่า น่าจะเป็นภาพของเจ๊กเส็ง ผู้วาดจิตรกรรมฝาผนังเรื่องสังข์ทองภายในวิหารลายคำแห่งนี้ รวมกับหนานโพธาที่เขียนเรื่องสุวรรณหงส์เพื่อประชันกัน (อนึ่ง มีบันทึกของฝรั่งชิ้นหนึ่งระบุว่าช่างที่เขียนที่นี่มีเพียงช่างชาวไทใหญ่เพียงคนเดียวเท่านั้น)

          รวมไปถึงบรรดาเฟอร์นิเจอร์เครื่องเรือนสมัยใหม่ที่ช่างบรรจงแทรกเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องลายคราม โคมไฟ อาคารบ้านเรือน หรือแม้แต่เครื่องแต่งกายของบรรดาตัวละครที่มีทั้งแบบล้านนา แบบพม่า แบบไทใหญ่ หรือแม้แต่แบบภาคกลางก็ตาม ดังนั้น ไม่ว่าเราจะดูเอาเรื่องหรือดูเอาสนุก คุณก็สามารถที่จะเลือกเสพจิตรกรรมฝาผนังในแบบที่ชอบได้ตามใจเลยครับ







          เจดีย์ประธานที่ปัจจุบันได้รับการปิดทองจังโกเรียบร้อยแล้ว ถือเป็นหนึ่งในเจดีย์ทรงระฆังที่เก่าแก่ที่สุดในอำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่ และยังเป็นพระธาตุเจดีย์ประจำปีมะโรงหรือปีงูใหญ่ตามคติของชาวล้านนาอีกด้วย ดังนั้น ใครที่เกิดปีมะโรง ลองหาโอกาสมากราบสักการะวัดนี้สักครั้งกันนะครับ




          อีกหนึ่งสิ่งที่อาจไม่ใช่อาคารหลักแต่ก็มีความน่าสนใจและงดงาม นั่นก็คือหอธรรม หรือหอไตร ที่ตั้งอยู่ด้านหน้าวิหารหลวง หอธรรม 2 ชั้นหลังนี้เป็นอาคาร 2 ชั้นที่มีการตกแต่งชั้นล่างด้วยปูนปั้นรูปเทวดามากมาย เทวดาเหล่านี้น่าจะหมายถึงเทวดาที่ที่ช่วยรักษาพระธรรมซึ่งเก็บรักษาเอาไว้ภายในอาคารหลังนี้ ส่งผลให้หอธรรมหลังนี้กลายเป็นหนึ่งในหอธรรมที่งดงามที่สุดในภาคเหนือ




            จริงๆ วัดแห่งนี้ยังมีสิ่งน่าสนใจน่าไปชมอีกหลายอย่างเลยครับ ไม่ว่าจะเป็น วิหารพระนอน เจดีย์ทรงมณฑป ซากเจดีย์ที่ขุดเจออัฐิที่เชื่อว่าเป็นของพญาคำฝู ผู้สร้างวัดนี้ ระฆังเก่าข้างวิหารหลวง แม้แต่วิหารพระเจ้าทันใจ หรือแม้แต่หอจงกรมของครูบาเจ้าศรีวิชัย ดังนั้น ถ้าใครมีโอกาสไปยังวัดพระสิงห์ อยากให้ลองค่อยๆ เดินชมกันดูครับ เผื่อคุณอาจจะเห็นมุมที่สวยงามนอกเหนือจากมุมที่คนชอบถ่ายแล้วเอามาแชร์กันก็ได้นะครับ


เกร็ดแถมท้าย
          1.  วัดพระสิงห์อยู่ภายในแนวกำแพงเมืองเชียงใหม่ฝั่งตะวันตก การจะเดินทางมายังวัดแห่งนี้สามารถทำได้ทั้ง On Foot คือเดินมา หรือจะนั่งรถสองแถวแดงมาก็ได้ แต่ถ้าคุณอยากลองพาหนะใหม่ๆ รถเมล์สาย B1 B2 มาก็ได้นะครับ
          2.  ถ้าคุณเดินทางไปยังเชียงใหม่ในช่วงสงกรานต์หรือช่วงประเพณีปี๋ใหม่เมือง คุณยังสามารถสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของวัดนี้ ระหว่างที่ขบวนแห่อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ แต่หากคุณเดินทางไปถึงเชียงใหม่ในวันที่ 11 เมษายน จะมีการอัญเชิญพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์อีกองค์ของวัด คือพระเจ้าทองทิพย์ หรือพระสิงห์น้อย ออกมาให้คนสักการะบูชาภายในวิหารลายคำเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ด้วยครับ
          3.  นอกจากวัดพระสิงห์ ยังมีวัดอีก 11 แห่งที่อยู่ในเซ็ตพระธาตุประจำปีเกิดของชาวล้านนนาด้วยครับ ทั้งหมดกระจายตัวอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือเป็นส่วนใหญ่ มีอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและนอกประเทศไทยบ้าง ใครเกิดปีไหนก็ลองหาโอกาสขึ้นไปสักการะกันนะครับ (ถ้าโอกาสเหมาะสมผมจะลองหาโอกาสเขียนถึงวัดกลุ่มนี้ครับ)












 


ลุงซุป เชียงใหม่ ศุภชัย นันท์วโรทัย     081-032-1805    
 soup.van.cnx.    ID: 0810321805    soupvancnx     soup.van@hotmail.com

 

เว็บพันธมิตร, แลกลิ้งค์ เว็บบ้านพัก "แม่กลางหลวงฮิลล์" | ร้านชาสา บ้านรักไทย | เว็บรถป็อปดอทคอม | เว็บจีพีเอสเที่ยวไทยดอทคอม | เว็บพิจิตรบ้านเราดอทคอม
หน่วยงานการท่องเที่ยว การท่องเที่ยว (ททท.) | ททท.ภาคกลาง | ททท.ภูมิภาคภาคตะวันออก | กรม อช.สัตว์ป่าและพันธุ์พืช | จองที่พัก อช.ระบบออนไลน์ | จังหวัดแม่ฮ่องสอน | ททท. สนง.แม่ฮ่องสอน | ศูนย์ศิลปาชีพ จ.แม่ฮ่องสอน | กระทรวงวัฒนธรรม | ศูนย์ข้อมูลมรดกโลก(ก.วัฒนธรรม) | สำนักอุทยานแห่งชาติ | เว็บโครงการหลวงฯ
คมนาคม, ขนส่ง การบินไทย | โอเรี่ยนไทย | แอร์เอเชีย | Solar Air | บางกอกแอร์เวย์ | บริษัทขนส่งจำกัด (บขส.) | การรถไฟแห่งประเทศไทย | สมบัติทัวร์ | เชิดชัยทัวร์ | สยามเฟิสท์ทัวร์ | นครชัยแอร์ | รถทัวร์ไทยดอทคอม | ติดตามการส่งพัสดุEMS | ตรวจผลสลาก.. | speedtest.adslthailand.com | speedtest.net | speedtest.or.th