soup   van club                    
     
การท่องเที่ยว ที่มากกว่า การเที่ยวท่อง ..!!                    
     





soup van club     การท่องเที่ยว ที่มากกว่า การเที่ยวท่อง ..!!     ติดตามข่าวสารการท่องเที่ยว ... แวะมาเยี่ยมกันบ่อยๆ นะ คร๊าบ ..


บริษัท ไทยฮอตสปอต เน็ตเวิร์ค จำกัด สนใจโฆษณา Welcome to JustUsers.net
จีพีเอสเที่ยวไทยดอทคอม

....::::    ::::....         สมัครสมาชิกเว็บ ง่ายๆ ถ้ามีเฟซบุ๊คอยู่แล้ว     ในขั้นตอนสมัครสมาชิก   เจอหน้าแรก "กดยอมรับข้อตกลงของเว็บ Soup Van Club"     หน้าต่อไป ให้กดที่ภาพ   "ภาพเฟซบุ๊ค"   แล้วป้อนอะไรนิดหน่อย     จากนั้นรอสักครู่ ระบบจะพาเข้าเว็บอัตโนมัติ ..!!       ....::::    ::::....

ผู้เขียน หัวข้อ: รีวิวพระอารามล้านนา (เส้นถนนคนเดินท่าแพ เชียงใหม่)  (อ่าน 21815 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Jomjam Jam

  • Administrator
  • *
  • กดนิ้วโป้ง.! แทนคำขอบคุณ
  • -มอบให้: 31
  • -จึงได้รับ: 658
  • กระทู้: 443
  • กำลังใจ : +662/-0
  • ระบบปฏิบัติการ:
  • Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
  • เบราเซอร์:
  • Chrome 55.0.2883.87 Chrome 55.0.2883.87
    • <b>กลุ่มพิเศษ..</b>
  • สมาชิกลำดับที่: 175
Share: โพสกระทู้นี้ลงใน Twitter ของคุณ  โพสกระทู้นี้ลงใน Facebook ของคุณ...              
รีวิวพระอารามล้านนา (ระหว่างเส้นทางถนนคนเดินท่าแพ)

    "ถนนคนเดินท่าแพ" หรือ "ถนนคนเดินเชียงใหม่" นับว่าเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของเมืองเชียงใหม่ที่นักท่องเที่ยวไม่พลาดเมื่อมาเที่ยวเชียงใหม่...เขาว่ากันว่าถ้าไม่มาถนนคนเดินแห่งนี้ ก็เหมือนมาไม่ถึงเชียงใหม่กันเลยทีเดียว ซึ่งนอกจากจะเป็นแหล่งรวบรวมสินค้าต่างๆ ที่น่าสนใจมากมาย ทั้งงานแฮนด์เมด งานศิลปะ งานไอเดียเก๋ไก๋ รวมทั้งของกินที่ล้วนแต่น่ารับประทานแล้ว ทราบหรือไม่ว่าระหว่างเส้นทางของถนนคนเดินแห่งนี้ยังเป็นที่ตั้งของวัดมากมายเรียงรายอยู่ตลอดเส้นทาง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง มีอายุอานามหลายร้อยปี หากใครที่ต้องการทำบุญไหว้พระ 9 วัด รับรองว่ามายังถนนคนเดินแห่งนี้ได้ทำบุญมากกว่า 9 วัดแน่นอน ซึ่งจะมีจำนวนกี่วัด และชื่อวัดอะไรบ้าง มาติดตามชมกันค่ะ ...โดยมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร-ประตูท่าแพ...




1. วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร : วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ตั้งอยู่ในบริเวณคูเมืองเชียงใหม่ ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ เดิมชื่อ "วัดลีเชียงพระ" สิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่ วิหารลายคำ ซึ่งตัววิหารสร้างตามแบบศิลปกรรมของภาคเหนือ มีรูปปั้นพญานาค 2 ตัวอยู่บันไดหน้า และใกล้ๆ พญานาค มีรูปปั้นสิงห์ 2 ตัว บริเวณภายในเป็นที่ประดิษฐาน "พระสิงห์" หรือ "พระพุทธสิหิงค์" เป็นศิลปะเชียงแสนรู้จักกันในชื่อ "เชียงแสนสิงห์หนึ่ง" ผนังด้านเหนือภายในวิหารลายคำมีภาพจิตรกรรมเขียนเรื่องสังข์ทอง ด้านใต้เขียนเรื่องสุวรรณหงส์ นับเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังที่น่าสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องสังข์ทอง ซึ่งพบเพียงที่เดียว ณ วัดแห่งนี้ ภายในวัดยังมีพระวิหารหลวง ซึ่งประดิษฐาน "หลวงพ่อโต" เป็นพระประธานองค์ใหญ่ ส่วนลานหน้าวัดมีรูปหล่อครูบาศรีวิชัยตั้งอยู่  ด้านซ้ายมือของพระวิหารหลวงเป็นที่ตั้งของ "หอไตร" หรือ "หอธรรมศิลปะล้านนายุครุ่งเรือง" ด้านหลังของพระวิหารหลวง คือ พระอุโบสถ ภายในมีมณฑปปราสาท ประดิษฐานพระเจ้าทองทิพย์จำลอง ทางเข้าพระอุโบสถด้านทิศเหนือเป็นซุ้มประตูโขง นอกจากนี้ ตามคติความเชื่อของชาวล้านนา  วัดพระสิงห์วรมหาวิหารเป็นที่ประดิษฐานของ "พระธาตุหลวง" หรือ "พระมหาเจดีย์" พระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีมะโรง 






2. วัดศรีเกิด : ตั้งอยู่ในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ บนถนนราชดำเนิน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ พระอารามแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อไรไม่มีประวัติบันทึกไว้แน่ชัด แต่คาดกันว่าน่าจะมีมาตั้งแต่ก่อนพญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่ เรียกได้ว่าอายุอานามเก่าแก่กว่า ๗๐๐ ปี ถือเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ พระวิหารของวัดแห่งนี้สร้างแบบสถาปัตยกรรมล้านนา ยกพื้นสูง หลังคาหลูบเตี้ย ด้านข้างมีมุขยื่นออกไปจากตัวอาคาร เพื่อเป็นเส้นทางขึ้นลงของพระสงฆ์ เป็นเอกลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่งของวิหารแบบล้านนา เดินเข้าไปภายในจะรู้สึกว่าหลังคาค่อนข้างเตี้ย ภายในพระวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญของวัด ได้แก้ “พระเจ้าแข้งคม” หรือ “พระเจ้าแค่งคม” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ ขัดสมาธิราบ หล่อขึ้นจากสัมฤทธิ์ลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง 94 นิ้ว สูง 112 นิ้ว น้ำหนักมากถึง 3,960 กิโลกรัม เป็นพุทธศิลป์แบบล้านนา สาเหตุที่เรียกกันว่า “พระเจ้าแข้งคม” เพราะว่าพระชงฆ์ (เข่า) มีลักษณะเป็นสันยาวผิดจากพระพุทธรูปองค์อื่นๆ





3. วัดทุงยู : วัดทุงยู เป็นวัดขนาดเล็ก อยู่ในเขตเมืองเก่าบนถนนราชดำเนิน ตำบลศรีภูมิ ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามทางด้านทิศเหนือกับวัดศรีเกิดและเยื้องกับสถานีตำรวจภูธรภาค 5 สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้สร้างเมื่อปี พ.ศ.2019 เดิมชื่อ  "วัดตุงยู" ส่วนคำว่า “ทุงยู” ปรากฏในวรรณกรรมและกฎหมายโบราณ หมายถึง "ร่มที่เป็นเครื่องประดับยศเจ้านาย"  พระอุโบสถ สร้างแบบล้านนาไทย ทำเป็นคอนกรีตหินอ่อนลงรักปิดทอง มีภาพฝาผนัง ช่อฟ้าใบระกา ทำด้วยไม้สักปิดทอง ที่ได้รับการบูรณะใหม่ โก่งคิ้วเป็นรูปโค้งไม่มีรวงผึ้งหน้าบันประดับปูนปั้นลวดลายเครือเถาประดับกระจกอังวะ ส่วนพระเจดีย์ เป็นทรงกลม เดิมเป็นแบบล้านนาตั้งบนเรือนธาตุ ต่อมาได้รับการบูรณะโดยเป็นรูปแบบอิทธิพลทรงพม่า–มอญ





4. วัดชัยพระเกียรติ : ตั้งอยู่บนถนนราชดำเนิน ตำบลศรีภูมิ  เดิมมีชื่อว่า "วัดชัยผาเกียรติ์" โคลงนิราศหริภุญไชยกล่าวถึงพระอารามแห่งนี้เอาไว้ว่า สร้างขึ้นในช่วงที่ราชวงศ์มังรายปกครองเมืองเชียงใหม่ และได้รับการทำนุบำรุงโดยกษัตริย์เชียงใหม่ทุกพระองค์เรื่อยมา ปัจจุบันปูชนียสถานต่างๆ ภายในวัดได้รับการบูรณะและสร้างขึ้นใหม่ทั้งหมด เนื่องจากของเดิมมีสภาพทรุดโทรมและเสียหายไปตามกาลเวลา สิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่ พระวิหาร ซึ่งพระวิหารองค์ปัจจุบันเป็นของใหม่ หน้าบันประดับด้วยลายปูนปั้นพรรณพฤกษาสีทองบนพื้นกระจกสีน้ำเงิน กลางหน้าบันเป็นรูปเทพพนม บันไดมีสิงห์ปูนปั้นสองตัวตั้งไว้เป็นทวารบาล ภายในพระวิหารประดิษฐานพระประธาน “พระพุทธรูปเมืองราย” หรือรู้จักกันทั่วไปในชื่อ “พระเจ้าห้าตื้อ” หล่อด้วยโลหะผสมทองหนัก 5,000 กิโลกรัม ประทับอยู่ในซุ้มโขง ชื่อ “พระเจ้าห้าตื้อ” นั้น มาจากน้ำหนักขององค์พระที่หนัก 5 ตื้อ (1 ตื้อ เท่ากับ 1,000 กิโลกรัม) ที่ฐานของพระเจ้าห้าตื้อมีจารึกอักษรพม่า ส่วนด้านหลังเป็นอักษรธรรมล้านนา เชื่อกันว่าผู้ใดมาสักการะกราบไว้พระเจ้าห้าตื้อ จะรอดพ้นจากภัยอันตรายต่างๆ และมีชัยในสิ่งหวังทุกประการ





5. วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์ : หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "วัดอุโมงค์เถรจันทร์"  เดิมชื่อว่า "วัดโพธิ์น้อย" ตั้งอยู่ภายในเขตด้านในกำแพงเมืองเชียงใหม่ ถนนราชภาคินัย ตำบลศรีภูมิ สร้างขึ้นในปี พ.ศ.1839-1840 โดยพระมหากษัตริย์ทั้งสามพระองค์ คือ พระเจ้าเม็งราย พญางำเมือง และพ่อขุนรามคำแหงมหาราช โดยมีหลักฐานจาก “คัมภีร์ธรรมปัญหาเถรจันทศรมณ์” กล่าวคือเมื่อครั้งที่สร้างเมืองเชียงใหม่ เมื่อกษัตริย์ทั้งสามได้วางผังเมืองเรียบร้อยแล้ว จึงได้จัดสร้างวัดแห่งนี้ขึ้นเป็นวัดแรกของเชียงใหม่ และได้สร้างไว้ที่ในจุดกลางเมือง พระเจดีย์ของวัดนี้มี 2 องค์ โดยพระเจดีย์องค์ที่ 1 ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวิหารหลวง ส่วนพระเจดีย์องค์ที่ 2 ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของวิหารหลวง พระพุทธรูปสำคัญภายในวัดมี 4 องค์ ได้แก่  พระพุทธเชียงแสนสิงห์หนึ่ง หรือ หลวงพ่อสมใจนึก พระพุทธปฏิมากร (หลวงพ่อโต หรือ หลวงพ่อใหญ่) เป็นพระประธานในวิหารหลวง พระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์สามแบบปางมารวิชัย ประดิษฐานหน้าพระประธาน (หลวงพ่อโต) และหลวงพ่อไร่หอม เป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย ประดิษฐาน ณ วิหารหลวงเช่นเดียวกัน


สมาชิกที่เห็นด้วยและขอบคุณ


ออฟไลน์ Jomjam Jam

  • Administrator
  • *
  • กดนิ้วโป้ง.! แทนคำขอบคุณ
  • -มอบให้: 31
  • -จึงได้รับ: 658
  • กระทู้: 443
  • กำลังใจ : +662/-0
  • ระบบปฏิบัติการ:
  • Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
  • เบราเซอร์:
  • Chrome 55.0.2883.87 Chrome 55.0.2883.87
    • <b>กลุ่มพิเศษ..</b>
  • สมาชิกลำดับที่: 175
Re: รีวิวพระอารามล้านนา (เส้นถนนคนเดินท่าแพ เชียงใหม่)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 05 กุมภาพันธ์ 2560, เวลา 01:48:04 น. »
Share: โพสกระทู้นี้ลงใน Twitter ของคุณ  โพสกระทู้นี้ลงใน Facebook ของคุณ...              


6. วัดดวงดี : เดิมชื่อ “วัดต้นหมากเหนือ” บางตำราบอกว่าวัดนี้มีหลายชื่อที่เรียกต่อๆ กันมา เช่น วัดพันธนุนมดี วัดอุดมดี วัดพนมดี  เป็นต้น ตั้งอยู่ในเขตเมืองเก่า บนถนนพระปกเกล้า ใกล้กับอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ เป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งของนครเชียงใหม่ ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าสร้างขึ้นเมื่อใด มีเพียงจารึกที่ฐานพระพุทธรูปประธานภายในพระวิหารเท่านั้น ที่ระบุเอาไว้ว่าพระประธานองค์นี้สร้างขึ้นในสมัยพระเมืองแก้ว เมื่อปี พ.ศ. 2039 คาดว่าคงสร้างขึ้นหลังจากพญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่เสร็จแล้ว ปัจจุบันมีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเข้ามากราบไหว้และเยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก อาจเนื่องเพราะชื่อวัดเป็นสิริมงคล สถาปัตยกรรมที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ 1. พระเจดีย์สีขาว องค์ประธานของวัดดวงดี ซึ่งเป็นศิลปะล้านนา ฐานสี่เหลี่ยมย่อเก็จ ฐานบัวหกเหลี่ยมซ้อนกันสี่ชั้น รองรับองค์ระฆังขนาดเล็ก ประดับด้วยกระจกสี ส่วนยอดประดับด้วยฉัตรสีทองห้าชั้นตามธรรมเนียมล้านนา 2. พระวิหารหลวง หลังปัจจุบันสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอินทรวโรรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ภายในพระวิหารประดิษฐาน “พระพุทธรูปดวงดี” เป็นพระประธานปางมารวิชัย ที่ฐานพระมีจารึกเขียนไว้ว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเมืองแก้วเมื่อปี พ.ศ. 2039  3. หอไตรที่มีอายุเกือบ 200 ปี ปัจจุบันอาจมีบางส่วนที่ชำรุดไปตามกาลเวลา ฝาผนังภายในมีภาพลายคำเรื่องพระเวสสันดรชาดก และ 4.พระอุโบสถ ตั้งอยู่ด้านข้างของพระวิหาร เป็นอาคารหลังเล็ก สถาปัตยกรรมล้านนา ด้านหน้าประดับด้วยลวดลายไม้แกะสลัก ผนังภายในเขียนภาพจิตรกรรมลวดลายสวยงาม




7. วัดอินทขีลสะดือเมือง : เป็นวัดเก่าแก่ ตั้งอยู่บนถนนอินทรวโรรส ใกล้อนุเสาวรีย์สามกษัตริย์ เดิมเป็นวัดร้างและเคยเป็นที่ประดิษฐานเสาอินทขีล (เสาหลักเมือง) ของเมืองเชียงใหม่ สร้างโดยพญามังรายมหาราชผู้ก่อตั้งนครเชียงใหม่ คำว่า "อินทขีล" มาจากคำว่า "อินทขีละ" ในภาษาบาลี แปลว่า เสาเขื่อน เสาหิน หรือแท่งเสาหลักเมือง เดิมวัดนี้ชื่อว่า "วัดอินทขีล" แต่เนื่องจากที่ตั้งของวัดนี้อยู่บริเวณสะดือเมืองเชียงใหม่ ชาวบ้านจึงเรียกวัดแห่งนี้ว่า "วัดสะดือเมือง" ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดอินทขีลสะดือเมือง" ตราบจนปัจจุบัน ภายในวัดมีพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่มาเป็นเวลานาน ชื่อว่า "พระเจ้าอุ่นเมือง" หรือ "หลวงพ่อขาว" อายุกว่า 700 ปี ซึ่งเป็นพระพุทธรูปแบบล้านนา มีพระพักตร์อิ่มเอิบ ตั้งอยู่ภายในวิหารทรงล้านนาที่สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง





8. วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร : เป็นพระอารามหลวงในจังหวัดเชียงใหม่ สร้างอยู่กลางใจเมือง ถ.พระปกเกล้า ต.พระสิงห์ แต่เดิมถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการปกครองของอาณาจักรล้านนา แต่ไม่ปรากฏปีที่สร้างแน่ชัด สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้น่าจะสร้างในปี พ.ศ. 1928 - 1945  ในสมัยของพระเจ้าแสนเมืองมา พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย เพื่ออุทิศส่วนกุศลถวายแด่"พระเจ้ากือนา" พระราชบิดา ซึ่งมีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ "ราชกุฏาคาร" หรือ "วัดโชติการาม" แปลว่า พระอารามที่มีแต่ความรุ่งเรืองสว่างไสว เนื่องจากเป็นสถานที่บรรจุพระเกศาธาตุ และพระธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นอกจากนี้ ความหมายอีกนัยหนึ่งของคำว่า “โชติการาม” คือ เวลาที่มีการจุดประทีปโคมไฟไปประดับบูชาองค์พระธาตุเจดีย์หลวง จะปรากฏแสงสีสว่างไสว มองเห็นองค์พระเจดีย์คล้ายเชิงเทียนที่มีเปลวไฟลุกโชติช่วงสว่างไสว มีความงดงาม สามารถมองเห็นได้แต่ไกล ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดเจดีย์หลวง” เนื่องจากภาษาคำเมือง "หลวง" แปลว่า “ใหญ่” ซึ่งหมายถึง พระธาตุเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ พระวิหารหลวง ซึ่งถูกสร้างครั้งแรกโดยพระนางติโลกจุฑา พระราชมารดาของพระเจ้าสามฝั่งแกน เมื่อปี พ.ศ.1954 ต่อมาได้มีการบูรณะและสร้างใหม่อีกหลายครั้ง พระวิหารหลวงที่เห็นในปัจจุบัน เจ้าคุณอุบาลีคุณปรมาจารย์ (สิริจันทะเถระ) และเจ้าแก้วนวรัฐเป็นผู้สร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ.2471 หน้าประตูทางเข้าวิหาร มีบันไดนาคเลื้อย ใช้หางเกี่ยวกระหวัดขึ้นไปเป็นซุ้มประตูวิหาร นาคคู่นี้เป็นฝีมือเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่เดิม และได้ชื่อว่าเป็นนาคที่สวยที่สุดของภาคเหนือ ภายในพระวิหารหลวงมี "พระอัฎฐารส" เป็นพระประธาน หล่อด้วยทองสำริด ปางห้ามญาติ สูง 18 ศอก ซึ่งพระนางติโลกจุฑาโปรดฯ ให้หล่อขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1954 และในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงใช้วิหารวัดเจดีย์หลวงนี้เป็นสถานที่ทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัจจาแทนการทำพิธีที่วิหารวัดเชียงมั่น นอกจากนี้ สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดอีกอย่างหนึ่ง คือ เสาอินทขิล หรือเสาหลักเมือง เดิมอยู่ที่วัดสะดือเมือง หรือวัดอินทขีล พระเจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 1 ในราชวงศ์ทิพจักร โปรดให้ย้ายเสาอินทขีลจากวัดสะดือเมือง มาไว้ ณ วัดเจดีย์หลวง เมื่อ พ.ศ.2343 ซึ่งเสาอินทขีลนี้เป็นเสาหลักเมืองที่สำคัญของเมืองเชียงใหม่ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพสักการะและนับถือ เชื่อว่าเป็นที่รวมวิญญาณของชาวเมืองและบรรพบุรุษในอดีต จึงเป็นปูชนียสถานที่สำคัญ และในวันแรม 12 ค่ำเดือน 8 (เหนือ) หรือประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน จะมีการจัดงานประเพณีสักการะบูชาเสาหลักเมืองขึ้นเป็นประจำทุกปี เรียกว่า งานประเพณีใส่ขันดอก บูชาเสาอิทขีล โดยงานดังกล่าวได้อัญเชิญพระเจ้าฝนแสนห่า อันเป็นพระพุทธรูปที่บันดาลให้ฝนตกมาเป็นประธานในขบวนแห่และมีการสวดคาถาอินทขีลของหมู่สงฆ์ด้วย ซึ่งชาวเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียงต่างพากันนำข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียน น้ำอบน้ำหอมมาบูชาเสาอินทขีลและพระพุทธรูปฝนแสนห่ากันอย่างเนืองแน่นทุกปี







9. วัดพันเตา : ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่เรียกว่า "วัดพันเท่า" หรือ "พันเต่า" เป็นวัดขนาดเล็ก มีความเก่าแก่ควบคู่กับวัดเจดีย์หลวง แต่ไม่มีประวัติชัดเจน ตั้งอยู่กลางเมืองเชียงใหม่ ติดวัดเจดีย์หลวง สิ่งสำคัญภายในวัด คือ พระวิหารหอคำหลวง ซึ่งสร้างด้วยไม้สักขนาดใหญ่ที่งดงามและสมบูรณ์ที่สุดของจังหวัดเชียงใหม่ และทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างยิ่ง  ตัวอาคารเป็นเรือนไม้สักทั้งหลัง ตามศิลปะแบบเชียงแสน เดิมเป็นหอคำหรือคุ้มหลวง ที่ประทับของพระเจ้ามโหตรประเทศ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 5 ในสมัยพระเจ้าอินทวิชชานนท์ (องค์ที่ 7) ซึ่งโปรดฯ ให้รื้อหอคำแห่งนี้ถวายให้เป็นพระวิหารของวัดพันเตา ภายในพระวิหารเป็นที่ประดิษฐาน "พระเจ้าปันเต้า" ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญและเก่าแก่ของวัด ส่วนประตูของพระวิหารนั้น เหนือซุ้มประตูประดับไม้แกะสลักรูปนกยูงอันเป็นสัญลักษณ์ของเจ้านายฝ่ายเหนือซึ่งมองดูวิจิตรและสง่างาม และเป็นเอกลักษณ์และจุดเด่นของวัดพันเตา นอกจากนี้ยังมีธรรมมาสน์ยกพื้นสูงแบบโบราณอายุกว่าร้อยปีให้ได้ชม ส่วนด้านหลังของพระวิหารหอคำหลวง เป็นเจดีย์องค์ประธานของวัด ทรงระฆังบนฐานแปดเหลี่ยม และรายล้อมด้วยเหล่าเจดีย์ที่งดงาม





10. วัดสำเภา : ตั้งอยู่บนถนนราชดำเนิน ต.ศรีภูมิ อยู่ตรงข้ามกับวัดพันอ้น ในเขตคูเมืองชียงใหม่ ห่างจากประตูท่าแพเพียง 250 เมตร สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์มังราย แต่ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง ในสมัยนั้นมีพ่อค้าชาวเมืองระแหง (ชาวจังหวัดตากในปัจจุบัน) เดินทางมาค้าขายในเมืองเชียงใหม่ เกิดความศรัทธาต่อพุทธศาสนาจึงสร้างสำเภาทองบรรจุในเจดีย์ของวัดแห่งนี้ และได้ตั้งชื่อวัดว่า “วัดสำเภา” โดยคำว่า “สำเภา” มาจากคำว่า “สะเภา” โดยสิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ พระวิหาร ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมล้านนา ตัวอาคารตั้งอยู่บนฐานยกสูง หลังคาซ้อนกันสามชั้นตามแบบสถาปัตยกรรมล้านนา หน้าบันตลอดจนตัวเสาประดับด้วยลายปูนปั้นที่ยังสมบูรณ์ มีทั้งรูปเทวดา ลายพรรณพฤกษา และสัตว์ต่างๆ บันไดทางขึ้นเป็นมกรคายนาคสีออกส้ม  ภายในประดิษฐานพระประธาน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย

สมาชิกที่เห็นด้วยและขอบคุณ


ออฟไลน์ Jomjam Jam

  • Administrator
  • *
  • กดนิ้วโป้ง.! แทนคำขอบคุณ
  • -มอบให้: 31
  • -จึงได้รับ: 658
  • กระทู้: 443
  • กำลังใจ : +662/-0
  • ระบบปฏิบัติการ:
  • Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
  • เบราเซอร์:
  • Chrome 55.0.2883.87 Chrome 55.0.2883.87
    • <b>กลุ่มพิเศษ..</b>
  • สมาชิกลำดับที่: 175
Re: รีวิวพระอารามล้านนา (เส้นถนนคนเดินท่าแพ เชียงใหม่)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 05 กุมภาพันธ์ 2560, เวลา 01:55:23 น. »
Share: โพสกระทู้นี้ลงใน Twitter ของคุณ  โพสกระทู้นี้ลงใน Facebook ของคุณ...              

11. วัดพันอ้น : เป็นวัดที่เก่าแก่ คู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่มาช้านาน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ วัดแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.2044 ในรัชสมัยของพระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิราช (พญาแก้วหรือพระเมืองแก้ว) กษัตริย์ล้านนาองค์ที่ 13 คำว่า “พันอ้น” สันนิษฐานได้ว่าเป็นชื่อผู้สร้างวัดที่ถวายไว้กับพระพุทธศาสนา ซึ่งผู้สร้างเป็นทหารหรือขุนนางที่มีบรรศักดิ์เป็น “พัน” เพราะคนในสมัยนั้นเมื่อตนเองประสบความสำเร็จในชีวิตมักจะสร้างวัดไว้เป็นอนุสรณ์ และนำชื่อของตนเองเป็นชื่อวัดที่ตนเองสร้างขึ้นด้วย และท่านคงมีนามว่า “อ้น” เมื่อสร้างวัดแห่งนี้เสร็จจึงให้นามว่า “วัดพันอ้น” ตามบรรดาศักดิ์และชื่อของท่าน ซึ่งบริเวณที่ตั้งของวัดพันอ้นนั้น แต่เดิมมีวัดอยู่ 2 วัดตั้งอยู่ คือวัดพันอ้นและมีวัดข้างเคียงอีกวัดหนึ่งชื่อว่า วัดเจดีย์ควัน เป็นวัดเล็กๆ อยู่ทางทิศตะวันตกของวัดพันอ้น สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยเดียวกันและก็เป็นวัดที่มีขนาดแล็กทั้งคู่ และบวกกับระยะนั้นเป็นยุคที่ล้านนามีความรุ่งเรืองทางด้านศิลปวัฒนธรรม จึงมีการสร้างวัดวาอารามขึ้นมากมาย ต่อมาทั้งสองวัดได้รวมเป็นวัดเดียวกันคือ วัดเจดีย์ควันพันอ้น แต่คนทั่วไปมักจะเรียกง่ายๆ ว่า วัดพันอ้น และในปัจจุบันวัดพันอ้น เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย เนื่องจากตั้งอยู่บริเวณถนนคนเดินท่าแพ โดยในทุกวันอาทิตย์ ท่านเจ้าอาวาสจะเปิดวัดให้ประชาชนแวะแวียนกันเข้ามากราบไหว้ และบริเวณลานหน้าต้นโพธิ์จะมีโต๊ะไม้สำหรับให้นั่งพักผ่อน นอกจากนี้วัดพันอ้นยังเป็นวัดที่มีกิจกรรมดีๆ มากมายสำหรับประชาชนและเด็กๆ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เช่น ทุกอาทิตย์จะมีกิจกรรมฝึกสมาธิ ปลูกฝังให้เด็กๆ เป็นคนดี โดยหากใครได้ผ่านการอบรมแล้ว จะได้รับใบประกาศนียบัตรเป็นที่ระลึกอีกด้วย





12. วัดหมื่นล้าน : เดิมมีชื่อว่า "วัดหมื่นสามล้าน" ตั้งอยู่บนถนนราชดำเนิน ตามหลักฐานได้มีการกล่าวไว้ว่า วัดหมื่นล้าน ได้ถูกสร้างขึ้นในช่วงราวปี พ.ศ. 2002 ในสมัยพระเจ้าติโลกราช โดย "หมื่นโลกสามล้านขุนพลแก้ว" ซึ่งเป็นขุนพลคู่ใจของพระองค์ ซึ่งส่วนใหญ่จะรู้จักกันในนาม "หมื่นด้ง" หรือ "หมื่นดังนคร" เพื่อเป็นการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับแม่ทัพนายกองและทหารของล้านนาที่เสียสละชีพในสงคราม สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ พระวิหาร ซึ่งสร้างด้วยสถาปัตยกรรมล้านนาผสมผสานพม่า โดย“หลวงโยนการพิจิตร” (หมองปันโหย่ อุปโยคิน) คหบดีชาวพม่า หรือชาวบ้านเรียกว่า “ขุนหลวงโย” ต้นตระกูลอุปโยคิน ได้สละทรัพย์บูรณะพระวิหารหลังนี้ในปี พ.ศ. 2460 และต่อเติมมุขด้านวิหารหลังเดิมออกมาคลุมบันได หน้าบันโดดเด่นด้วยลวดลายแกะสลักไม้รูปนกยูงรำแพนประดับกระจกสี ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะพม่า ภายในพระวิหารยังคงเอกลักษณ์ล้านนาดั้งเดิม มีพระพุทธรูปปางมารวิชัยเป็นพระประธาน และฝาผนังเขียนภาพจิตรกรรมเล่าเรื่องราวพุทธประวัติทีสวยงาม




ถ่ายภาพและเรียบเรียงโดย Jomjam ทีมงาน soupvan cnx.
www.soupvanclub.com





สมาชิกที่เห็นด้วยและขอบคุณ


 

เว็บพันธมิตร, แลกลิ้งค์ เว็บบ้านพัก "แม่กลางหลวงฮิลล์" | ร้านชาสา บ้านรักไทย | เว็บรถป็อปดอทคอม | เว็บจีพีเอสเที่ยวไทยดอทคอม | เว็บพิจิตรบ้านเราดอทคอม
หน่วยงานการท่องเที่ยว การท่องเที่ยว (ททท.) | ททท.ภาคกลาง | ททท.ภูมิภาคภาคตะวันออก | กรม อช.สัตว์ป่าและพันธุ์พืช | จองที่พัก อช.ระบบออนไลน์ | จังหวัดแม่ฮ่องสอน | ททท. สนง.แม่ฮ่องสอน | ศูนย์ศิลปาชีพ จ.แม่ฮ่องสอน | กระทรวงวัฒนธรรม | ศูนย์ข้อมูลมรดกโลก(ก.วัฒนธรรม) | สำนักอุทยานแห่งชาติ | เว็บโครงการหลวงฯ
คมนาคม, ขนส่ง การบินไทย | โอเรี่ยนไทย | แอร์เอเชีย | Solar Air | บางกอกแอร์เวย์ | บริษัทขนส่งจำกัด (บขส.) | การรถไฟแห่งประเทศไทย | สมบัติทัวร์ | เชิดชัยทัวร์ | สยามเฟิสท์ทัวร์ | นครชัยแอร์ | รถทัวร์ไทยดอทคอม | ติดตามการส่งพัสดุEMS | ตรวจผลสลาก.. | speedtest.adslthailand.com | speedtest.net | speedtest.or.th