soupvanclub
=> อาราม และเรื่องเล่าเมืองล้านนา => ข้อความที่เริ่มโดย: ลุงซุป เชียงใหม่ ที่ 05 กันยายน 2558, เวลา 09:14:49 น.

หัวข้อ: ไหว้พระ 9 วัด อ.สันกำแพง เชียงใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: ลุงซุป เชียงใหม่ ที่ 05 กันยายน 2558, เวลา 09:14:49 น.
ไหว้พระ 9 วัด อำเภอสันกำแพง เชียงใหม่


[attach=1]
ภาพจาก kapook.com (https://travel.kapook.com/view63238.html)


1.  วัดพระนอนแม่ปูคา ต.ต้นเปา อ.สันกำแพง เชียงใหม่ (วัดพระป้าน) (พระประจำวันเกิดของคนกิดวันอังคาร) (องค์พระเจดีย์บรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า)  พิกัด gps. 18.766365, 99.098680  (https://goo.gl/maps/nyYNWuRGGNbRdm4w8)
           สร้างขึ้นราวๆ ปี พ.ศ. 2200 ต่อมา ใน ปี พ.ศ. 2471 ครูบาศรีวิชัย สิริวิชโย นักบุญแห่งล้านนาไทย เจ้าอาวาสวัดพระสิงห์หลวง (วัดพระสิงห์วรวิหาร อ.เมือง เชียงใหม่) ร่วมกับ ขุนเปา เปรมประชา พร้อมความร่มมือ ร่วมใจของชาวบ้าน ได้ทำการสร้างพระวิหารครอบองค์หลวงพ่อพระนอน โดยมีครูบาเจ้าขาวปี เป็นผู้คุมงานการสร้าง ใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี โดยทำบุญฉลองสมโภชพระวิหาร ใน ปี พ.ศ. 2473 ในขณะนั้นครูบาศรีวิชัย มีอายุ 50 ปี ภายในวัดมีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านโบราณ สะสมรวบรวมของบริจาค จัดแสดงในตู้เก็บรักษา ในวิหารพระนอน

2.  วัดบ่อสร้าง ต.ต้นเปา อ.สันกำแพง เชียงใหม่ (วัดศรีสุพรรณสันน้ำบ่อสร้าง)  พิกัด gps. 18.771512, 99.085917  (https://goo.gl/maps/5E5LM8G6hhaM3EBWA)
           วัดเก่าแก่ที่มีรูปแบบของสถาปัตยกรรมล้านนาที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง ภายในวัดยังมี พระเจดีย์สันติภาพ เป็นเจดีย์ที่ ยูเมฮะระ โซะจัง ชาวญี่ปุ่น ได้บริจาคเงินจำนวนหนึ่ง เพื่อทำการสร้างเจดีย์นี้ขึ้นมา เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพของโลก อีกทั้งยังมีพิธีอัญเชิญ และประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุในทุกๆ ปีอีกด้วย  

3.  วัดน้ำจำ ต.ร้องวัวแดง อ.สันกำแพง เชียงใหม่ พิกัด gps. 18.757249, 99.157631  (https://goo.gl/maps/rfXDXSg3cw5YLnjm8)
           ไม่มีหลักฐานปรากฏว่าสร้างขึ้นเมื่อใด ในอดีตชาวบ้านได้ไปพบบ่อน้ำ มีน้ำขังอยู่ตลอดปี และใช้ดื่ม ใช้กิน สำหรับชาวบ้าน และสัตว์เลี้ยง จึงเป็นที่มาของชื่อ บ้านน้ำจำ และด้วยน้ำพักน้ำแรงของชาวบ้านในหมู่บ้าน ทำให้วัดแห่งนี้ เป็นศาสนสถานที่มีชื่อเสียงมาจนถึงทุกวันนี้ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมต่างๆ เช่น การทำหมากสุ่ม , หมากเบ็ง หรือ ต้นผึ้ง , การตีกลองปู่จา , การตีกลองสะบัดชัย , การสานผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ และ การสอนศิลปะป้องกันตัว

4.  วัดร้องวัวแดง ต.ร้องวัวแดง อ.สันกำแพง เชียงใหม่ พิกัด gps. 18.743827, 99.170214  (https://goo.gl/maps/nAzv6H6fEtDMS7cV7)
           สร้างขึ้นใน ปี พ.ศ. 2303 ช่วงยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ตรงกับช่วงเวลาฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ หลังจากโดนพม่ายึดครอง และถูกทิ้งร้างมายาวนาน โดยเรียกชื่อวัด ตามชื่อของหมู่บ้านร้องวัวแดง ในแต่ก่อนบริเวณนี้มีวัวกระทิงป่า หรือ วัวแดงอยู่ชุกชุม ที่นี่มี  พระพุทธรูปสมปรารถนา  (https://www.tripchiangmai.com/chiangmaiboard/index.php?topic=7936.0#.X2vyMsIzaUk) เป็นพระพุทธรูปสำคัญของวัด องค์จริงเก็บรักษาไว้ในอาคารเฉพาะ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะสุโขทัยตอนปลาย อายุกว่า 700 ปี

5.  วัดป่าตึง ต.ออนใต้ อ.สันกำแพง เชียงใหม่ (หลวงปู่หล้า ตาทิพย์)  พิกัด gps. 18.759331, 99.166451  (https://goo.gl/maps/Lz1bKb66DzbEL7tW6)
           สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2425 พบว่าเป็นวัดร้างคู่กับวัดเชียงแสน ก่อนที่จะสร้างวัดนี้ขึ้น พบว่าที่นี่มี พระบรมสารีริกธาตุ , วัตถุโบราณ ,  พระพุทธรูป , ถ้วยชามสังคโลก และ เครื่องปั้นดินเผา เป็นจำนวนมาก ทั้งในบริเวณวัด และรอบๆ บริเวณวัด วัดป่าตึงยังมีพระเกจิชื่อดัง  หลวงปู่หล้า (ตาทิพย์)  (https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/529418/) เป็นที่รู้จักโดยทั่วกัน ซึ่งปัจจุบันได้มรณภาพไปแล้ว แต่ไม่เน่าเปื่อย ทางวัดยังคงรักษาร่างของท่านไว้ในโลงแก้ว ให้พุทธศาสนิกชนได้เข้ามากราบไหว้บูชา

6.  วัดดอนมูล ต.ทรายมูล อ.สันกำแพง เชียงใหม่ (วัดสันโค้งใหม่ , วัดสันโค้งต้นผึ้ง)  พิกัด gps. 18.738030, 99.149048  (https://goo.gl/maps/m6edgkNDwXMebenQA)
           สร้างเมื่อ ปี พ.ศ. 2442 โดยครูบาเจ้าคำมูล ธฺมมเสนา พร้อมศิษย์อีก 6 รูป สร้างเสร็จได้เรียกชื่อว่า วัดสันโค้งใหม่ (เรียกตามฐานะของวัดที่แยกออกมาจากวัดสันโค้งที่มีอยู่เก่า) หรือ วัดสันโค้งต้นผึ้ง (ใกล้วัดมีต้นไม้ใหญ่ ผึ้งชอบมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก) ปัจจุบันนี้เรียกว่า วัดดอนมูล

7.  วัดป่าตาล ต.บวกค้าง อ.สันกำแพง เชียงใหม่ พิกัด gps. 18.720837, 99.106083  (https://goo.gl/maps/AAxum3JAb1Z2ANRu5) 
           สร้างขึ้นในครั้งที่ชาวพม่าไตยอง อพยพมาจากเมืองสิบสองปันนา เข้ามาอยู่ที่เมืองลำพูน บางส่วนก็ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ ตำบลบวกค้าง (ในปัจจุบัน)  ในปี พ.ศ. 2348 แต่เดิมบริเวณวัดเป็นป่าไม้ไผ่ และหญ้าคา มีสองตายาย อาศัยอยู่ทางทิศเหนือของวัด ทำการแผ้วถางเพื่อเพาะปลูกพืชไร่ ได้พบกู่ และซากวัดเก่า จึงได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้นมา และบริเวณที่เป็นกู่ คือตรงที่พระประธานในวิหารของวัดประทับอยู่มาจนถึงปัจจุบันนี้

8.  วัดสันก้างปลา ต.สันกำแพง อ.สันกำแพง เชียงใหม่ พิกัด gps. 18.745151, 99.134225  (https://goo.gl/maps/k8DskKKxy9zDCkMM9)
           บริเวณวัดเป็นที่ตั้งของ ศูนย์วัฒนธรรมไทยเขิน จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของชาวไทยเขินตั้งแต่ในสมัยก่อน  เนื่องจากชาวบ้านที่นี่เกือบทั้งหมดเป็นชาวไทยเขิน สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่อพยพมาจากเมืองเชียงตุง ประเทศพม่า ในสมัยที่พระเจ้ากาวิละได้กวาดต้อนกลุ่มชาวไทยเขินให้มาอยู่เมืองเชียงใหม่เป็นต้นมา แต่แม้ว่าเวลาจะได้ล่วงเลยมากกว่าสองร้อยปีแล้ว ชาวไทยเขินยังคงรักษาเอกลักษณ์ของชุมชนไว้ได้อย่างเหนียวแน่นอยู่จนถึงปัจจุบันนี้

9.  วัดบวกค้าง ต.แช่ช้าง อ.สันกำแพง เชียงใหม่ พิกัด gps. 18.721740, 99.118511  (https://goo.gl/maps/a9VpUK2xtuovPhPb6)
           สร้างขึ้นใน ปี พ.ศ. 1912 - 1914 ยุคเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าเข้าเมือง ในสมัยพระเจ้ากือนา หลังจากกอบกู้เอกราชคืนจากพม่าได้แล้ว  ได้ทำการกวาดต้อนผู้คน ซึ่งเป็นชาวยอง กลุ่มชาติพันธุ์ไตลื้อ ที่มีถิ่นฐานอยู่ ณ เมืองยอง ให้มาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณนี้ พร้อมสร้างวัดบวกค้างขึ้น ในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว พบกู่ดำ และพระเจดีย์ จึงได้มีการสร้าง พระนอนหล้า และสร้างวิหารหลังคาแฝดเป็นที่ประดิษฐานพระนอนหล้าและกู่ดำ สร้างพระอุโบสถ หอพระไตร และถาวรวัตถุต่าง ๆ อีกมากมาย