soupvanclub
=> พิกัดเที่ยว => ข้อความที่เริ่มโดย: ลุงซุป เชียงใหม่ ที่ 01 กันยายน 2563, เวลา 09:20:27 น.

หัวข้อ: ดอยเชียงดาว พื้นที่สงวนชีวมณฑลล่าสุดของโลก
เริ่มหัวข้อโดย: ลุงซุป เชียงใหม่ ที่ 01 กันยายน 2563, เวลา 09:20:27 น.
ดอยเชียงดาว พื้นที่สงวนชีวมณฑลล่าสุดของโลก (https://pantip.com/topic/40019763)
บทความจาก  (https://www.facebook.com/soupvan): pantip.com  (https://pantip.com/)/ ดอยเชียงดาว พื้นที่สงวนชีวมณฑลล่าสุดของโลก  (https://pantip.com/topic/40019763)
สมาชิกหมายเลข 3110689 (https://pantip.com/profile/3110689)
อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (https://pantip.com/tag/อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม): ธรณีวิทยา (https://pantip.com/tag/ธรณีวิทยา): ชีววิทยา (https://pantip.com/tag/ชีววิทยา): หน้าต่างโลก (https://pantip.com/tag/หน้าต่างโลก): ดอกไม้ (https://pantip.com/tag/ดอกไม้)


[attach=1]

           ดอยเชียงดาว หรือชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันจนติดปากว่า ดอยหลวง เพราะความยิ่งใหญ่ของขุนเขาที่สูงจรดขอบฟ้าเหนือ อ.เชียงดาว เชียงใหม่ ด้วยความสูง 2,225 เมตร เป็นอันดับสามรองมาจากดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง และดอยผ้าห่มปก อ.ฝาง เชียงใหม่
 
           วันนี้ ได้รับการคัดเลือกและมีมติเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้เสนอเป็น พื้นที่สงวนชีวมณฑล (biosphere reserve) แห่งใหม่ ต่อองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) ภายในสิ้นเดือนกันยายนนี้ เพื่อให้เข้าสู่กรอบการพิจารณาในปี 2564

           เขตสงวนชีวมณฑล (Biosphere Reserve) ในนิยามทางวิชาการเขาหมายถึง พื้นที่ซึ่งเป็นระบบนิเวศบนบก หรือระบบนิเวศทางทะเลหรือชายฝั่ง หรือระบบนิเวศทั้งหมดรวมกัน ซึ่งเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ  ซึ่งระบบนิเวศที่ว่านี้ไม่ใช่แค่ธรรมชาติแต่รวมมนุษย์ด้วย  ซึ่งพื้นที่นี้มีบทบาทหลักๆ 3 ด้าน คือ

บทบาททางการอนุรักษ์ธรรมชาติ  ก็มีสงวนรักษาพื้นที่ สงวนรักษาพันธุกรรม ชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต และอนุรักษ์ระบบนิเวศ สภาพภูมิทัศน์ ตลอดจนความหลากหลายทางวัฒนธรรมในพื้นที่ สืบสานและส่งต่อไปรุ่นต่อไป
   
บทบาทที่สอง คือ ด้านการพัฒนา ทำเป็นพื้นที่ที่ส่งเสริมพัฒนาอย่างยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สังคม ประเพณีและวัฒนธรรม ซึ่งข้อนี้ถ้าสังเกตดูว่าอะไรที่เป็นระดับนานาชาติที่ยูเนสโกรับรอง จะมีเรื่องของคนหรือสังคมเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ
 
           ส่วนบทบาทที่สามคือด้านการสนับสนุนการวิจัยและการศึกษา (Logistics) เป็นพื้นที่ที่สามารถให้การสนับสนุนการสาธิต การฝึกอบรม และให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม การศึกษา วิจัยและตรวจสอบปัญหาที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์และการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกระดับ ทั้งระดับท้องถิ่น ระดับชาติและ ระดับนานาชาติ ซึ่งข้อนี้พื้นที่สงวนชีวมณฑลในบ้านเราชัดเจนมาก


พื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง

(https://f.ptcdn.info/971/069/000/qcmox827jynRtWagexiw-o.jpg)

           น.ส.วิมลมาศ นุ้ยภักดี นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ ผู้จัดการพื้นที่สงวนชีวมณฑลแม่สา - คอกม้า เชียงใหม่ ระบุว่า ภูมิใจมากเมื่อสิ่งที่สานต่อมานานเริ่มเข้าสู่กระบวนการที่ชัดเจน เพราะ 20 ปีแล้วที่ไทยไม่ได้มีการเสนอพื้นที่สงวนชีวมณฑลต่อยูเนสโกเลย ทั้งที่เรามีพื้นที่ศักยภาพพร้อมอยู่แล้ว แม้ว่าจะมีการประชุมเครือข่ายพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาตลอด และประเทศต่างๆ ทั่วโลกเขาจะเสนอพื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งใหม่กันมาตลอด
 
 เดิมประเทศไทยมีพื้นที่สงวนชีวมณฑลทั้งหมด 4 แห่ง ประกอบด้วย

 -  ปี 2519 พื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช นครราชสีมา ซึ่งเป็นป่าดิบแล้ง

 -  ปี 2520 พื้นที่สงวนชีวมณฑลห้วยคอกม้า เชียงใหม่ ในฐานะระบบลุ่มน้ำภูเขา ในเขต 3 อุทยานแห่งชาติ คือ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ - ปุย , อุทยานแห่งชาติออบขาน และอุทยานแห่งชาติขุนขาน พื้นที่สงวนชีวมณฑลสวนสัก - ห้วยทาก ลำปาง ในฐานะป่าสักขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย และห่างหายไปอีก 20 ปี จึงได้รับการรับรองอีก 1 แห่ง

 -  ปี 2540 คือ พื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าชายเลนระนอง ระนอง ป่าชายเลนของไทย และแห่งแรกของโลก

           ครั้งนี้มีการสำรวจพื้นที่ศักยภาพทั่วประเทศจำนวน 19 แห่ง เพื่อส่งให้คณะกรรมการระดับกรมพิจารณาคัดเหลือ 4 พื้นที่ คือ ดอยเชียงดาว , เกาะตะรุเตา , ป่าแม่วงก์ และป่ากุยบุรี ต่อมาคณะกรรมการชุดใหญ่พิจารณานำร่องใน 2 พื้นที่ คือ ดอยเชียงดาว ที่เป็นสังคมพืชกึ่งอัลไพน์แห่งเดียวของประเทศไทย และเกาะตะรุเตา ซึ่งเป็นหมู่เกาะ และล่าสุดเมื่อคณะกรรมการระดับชาติตัดสินใจเลือกดอยเชียงดาวส่งให้  ครม. พิจารณาเสนอชื่อต่อยูเนสโก

           ลักษณะเด่นของดอยเชียงดาวคือ เป็นป่าเขตร้อน 4 ชนิด มีทั้งป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขา และป่าเปิดระดับสูง เกิดความหลากหลายของสภาพป่า มีพรรณไม้กว่า 1,800 ชนิด และด้วยมีความสูงเกินกว่า 1,900 เมตร จึงเป็นป่ากึ่งอบอุ่นเหมือนต่างประเทศ โครงสร้างทางธรณีวิทยาเป็นเขาหินปูน ทำให้มีไม้พุ่มแปลกตา

           เป็นพื้นที่มีลักษณะเฉพาะ เป็นสังคมพืชกึ่งอัลไพน์แห่งเดียวของประเทศไทย จึงมีพืชชนิดใหม่จำนวนมาก เป็นพืชเฉพาะถิ่นพบได้ที่เดียวในโลก หายาก และน่าสนใจมากกว่า 50 ชนิด อาทิ ค้อเชียงดาว , เทียนเชียงดาว , ชมพูเชียงดาว , กุหลาบขาวเชียงดาว , ก่วมเชียงดาว , ตีนเป็ดเชียงดาว , หรีดเชียงดาว , ขาวปั้น , เอื้องศรีเชียงดาว , สิงโตเชียงดาว และเทียนนกแก้ว พรรณพฤกษาที่มีค่างดงามไร้ที่ติ


ดอกขาวปั้น หนึ่งในดอกไม้ป่าที่พบบนดอยหลวงเชียงดาว ชูช่อต้อนรับผู้มาเยือนด้วยช่อดอกสีขาวอมชมพู

(https://f.ptcdn.info/971/069/000/qcmo4ckyt48c1oqiw24-o.jpg)

ฟองหินเหลือง พืชหายากอีกชนิดบนดอยหลวงเชียงดาว

(https://f.ptcdn.info/971/069/000/qcmp26hpeX28t0f6AGM-o.jpg)

ต้นเทพอัปสร


           ในขณะเดียวกันชุมชนที่อยู่โดยรอบยังมีความหลากหลาย ทั้งชาติพันธุ์และวิถีชีวิต เศรษฐกิจชุมชนจึงมาจากการเกษตรและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มีความเข้มแข็งในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ และดอยเชียงดาวยังเป็นต้นกำเนิดแหล่งน้ำปิง แม่น้ำสายสำคัญของเชียงใหม่

           จากข้อมูลของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว ย้ำว่า ดอยเชียงดาวมีสัตว์ป่ามากถึง 672 ชนิด โดยเฉพาะ เลียงผา และกวางผา สัตว์ป่าสงวนที่พบได้บนยอดเขาสูงเทียมเมฆ เสือโคร่ง , เสือไฟ , เสือลายเมฆ , ลิงลม , ชะนีมือขาว , ค่างแว่นถิ่นเหนือ , ลิงภูเขา , ลิงอ้ายเงียะ , ลิงวอก , เม่น , อีเก้ง , หมาไน และลิ่น

           มีสัตว์ปีก 383 ชนิด โดยเฉพาะนกที่พบมีสภาพใกล้สูญพันธุ์และตกอยู่ในภาวะถูกคุกคาม เช่น นกกก , นกแก๊ก , นกกางเขนดง , นกตั้งล้อ , นกพญาไฟใหญ่ , นกกางเขนน้ำ , นกขุนทอง , นกเปล้าหางแหลม , นกกะรางหัวขวาน , นกขุนแผนอกส้ม , นกกินแมลงป่าอกสีน้ำตาล , นกขมิ้นท้ายทอยดำ , เหยี่ยวภูเขา , ไก่ฟ้าหลังขาว , นกปรอดโอ่งเมืองเหนือ , นกปรอดเหลืองหัวจุก , นกไต่ไม้หน้าผากกำมะหยี่ ,  นกบั้งรอกใหญ่ , นกเขียงคราม และนกหายากที่สุดแต่พบได้ที่นี่ นกกินแมลงเด็กแนน และไก่ฟ้าหางลายขวาง
 
           ตลอดจนสัตว์เลื้อยคลาน สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก 91 ชนิด เช่น เต่าปูลู , ตะพาบน้ำ , เต่าหก , ตะกวด , งูจงอาง , งูสิง , งูเหลือม , ตุ๊กแก , กิ้งก่าดง , กิ้งก่าป่าสีน้ำเงิน และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ไม่น้อยกว่า 48 ชนิด และใกล้จะสูญพันธุ์ คือ กะท่าง , กบ , อึ่งอ่างบ้าน , อึ่งขาดำ , กบหนอง , กบนา และยังมีปลาน้ำจืด 25 ชนิด ได้แก่ ปลาจาด , ปลาขี้ยอก , ปลาแม่แปบ , ปลาสร้อยเกล็ดถี่ , ปลาตะเพียน , ปลากด


นกขุนแผนอกส้ม Cr.https:// [url=http://www.flickr.com]www.flickr.com (https://www.flickr.com/) [/b][/color][/url]

(https://f.ptcdn.info/971/069/000/qcmq2a8wkluWuaBy8f72-o.jpg)

ไก่ฟ้าหางลายขวาง

(https://f.ptcdn.info/971/069/000/qcmq4bjebpmhRPfmI8u-o.jpg)

ผีเสื้อสมิงเชียงดาว Cr.https://en.wikipedia.org/ (https://en.wikipedia.org/wiki/Main_Page)

(https://f.ptcdn.info/971/069/000/qcmqgx48kxZvs1tR929-o.jpg)


           ส่วนแมลงหายาก และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง คือ ด้วงกว่างดาว , ด้วงกว่างห้าเขา , ด้วงคีมยีราฟ , ผีเสื้อกลางคืนหางยาว , ผีเสื้อถุงทอง , ผีเสื้อหางดาบตาลไหม้ หรือแม้กระทั่งผีเสื้อที่พบเฉพาะที่ดอยเชียงดาว และคาดว่าอาจจะสูญพันธุ์แล้วคือ ผีเสื้อภูฐาน หรือผีเสื้อสมิงเชียงดาว

           ทั้งนี้ ยูเนสโก ตั้งธงในเรื่องการจัดทำพื้นที่สงวนชีวมณฑลขึ้นมากว่า 40 ปี ก็เพราะประชากรโลกมีการใช้ทรัพยากรกันอย่างไม่เห็นค่า และอนาคตโลกจะต้องลำบากกับความสูญเสียที่ประเมินค่าไม่ได้ จึงเห็นว่าควรจะต้องมีองค์ความรู้ในเรื่องการอนุรักษ์มาจัดการพื้นที่ เพื่อหาโอกาสให้ผู้คนได้แสวงหาแนวทางในการพัฒนาพื้นที่และสามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน
 
โดยบุคคลที่น่ายกย่องและต้องพูดถึง คือ ดร.สง่า สรรพศรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม นักวิชาการหนึ่งเดียวของไทย ในฐานะผู้ร่วมริเริ่มการจัดทำพื้นที่สงวนชีวมณฑลจาก 10 ประเทศทั่วโลก

 น.ส.วิมลมาศ ระบุว่า ระหว่างที่รอการเสนอพื้นที่สงวนชีวมณฑล เราก็ต้องเดินหน้าใน 3 ประเด็นหลักคือ การอนุรักษ์ การพัฒนา การศึกษาวิจัย และถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยมีแผนให้เห็นว่าเราจะแบ่งเขตการจัดการออกเป็น 3 ส่วน คือ  

 -  พื้นที่แกนกลาง ระบบนิเวศสมบูรณ์มากและห้ามเข้าทำกิจกรรมใดๆ ที่จะส่งผลเสียหาย

 -  พื้นที่กันชน ป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่แกนกลาง สามารถทำกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้

 -  และพื้นที่รอบนอก ประชาชนอยู่อาศัย ทำกิน ซึ่งจุดนี้คือการสร้างจิตสำนึกของการอนุรักษ์ให้ธรรมชาติและประชาชนอยู่ร่วมกันได้

           แม้ว่าปีที่ผ่านมาดอยเชียงดาวจะเกิดไฟไหม้ป่าครั้งรุนแรงที่สุดในรอบหลายปี จนต้องมีการประกาศห้ามเข้าเด็ดขาด มีเพียงนักวิชาการเข้าไปเก็บข้อมูลและสำรวจพื้นที่จนพบว่า ขณะนี้ธรรมชาติสามารถฟื้นตัวกลับมาได้เองอีกครั้ง กลายเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งที่ 5 ของไทย
 
 
Cr. [url=http://blog.tawanyimchang.com/?p=4567]http://blog.tawanyimchang.com/?p=4567 (http://blog.tawanyimchang.com/?p=4567) [/b][/color][/url]
Cr. [url=https://ngthai.com/travel/15059/placesinchiangdao/]https://ngthai.com/travel/15059/placesinchiangdao/ (https://ngthai.com/travel/15059/placesinchiangdao/) [/b][/color][/url]
Cr. [url=https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2245912]https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2245912 (https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2245912) [/b][/color][/url]

(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมด และขออนุญาตนำมา)




บทความจาก  (https://www.facebook.com/soupvan): pantip.com  (https://pantip.com/)
 ดอยเชียงดาว พื้นที่สงวนชีวมณฑลล่าสุดของโลก  (https://pantip.com/topic/40019763)
สมาชิกหมายเลข 3110689 (https://pantip.com/profile/3110689)