soupvanclub
=> พิกัดเที่ยว => ข้อความที่เริ่มโดย: ลุงซุป เชียงใหม่ ที่ 04 สิงหาคม 2566, เวลา 13:01:42 น.

หัวข้อ: วัดปงสนุกเหนือ ลำปาง
เริ่มหัวข้อโดย: ลุงซุป เชียงใหม่ ที่ 04 สิงหาคม 2566, เวลา 13:01:42 น.
วัดปงสนุกเหนือ ลำปาง (https://mthai.com/travel/lampang/333779.html)
 บทความจาก  (https://mthai.com/travel/lampang/333779.html) :  mthai.com (https://mthai.com/travel)

[attach=1]

วิหารพระเจ้าพันองค์ วัดปงสนุกเหนือ ลำปาง วัดเดียวที่ได้รางวัลนี้จาก UNESCO
MThai พาเที่ยววัดสวยที่ได้รางวัล “Award of Merit” จาก UNESCO อย่าง วัดปงสนุกเหนือ จังหวัดลำปาง ที่มีวิหารพระเจ้าพันองค์ ซึ่งเป็นวัดแห่งเดียวในประเทศไทยที่ได้รับรางวัลนี้ !

(https://img-ha.mthcdn.com/rgDixw7BFk2xPRhAufMkIIQwHmU=/mthai.com/app/uploads/2023/07/20_north_pongsanuk_lampang_66.jpg)


วัดปงสนุกเหนือ อ.เมือง ลำปาง

          วัดปงสนุกเหนือ หรือ วัดปงสนุก หรือปรากฏหลักฐานในอีก 4 ชื่อ คือ วัดศรีจอมไคล, วัดเชียงภูมิ, วัดดอนแก้ว และวัดพะยาว สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอนันตยศ พระราชโอรสของพระนางจามเทวีแห่งหริภุญไชย เมื่อครั้งเสด็จมาสร้างเขลางค์นคร (จังหวัดลำปางในปัจจุบัน) โดยสร้างเมื่อ พ.ศ. 1223

           ราว พ.ศ. 2386 เจ้าหลวงมหาวงศ์ได้ไปฟื้นฟูเมืองพะเยาขึ้นใหม่ ครูบาอินทจักรพระอุปัชฌาย์ของครูบาอาโนชัยธรรมจินดามุนี ได้นำชาวพะยาว (พะเยา) อพยพกลับ แต่ก็ยังคงเหลืออีกจำนวนหนึ่งที่ไม่ยอมกลับ ละได้มาตั้งรกรากอยู่กับชาวบ้านปงสนุก ตั้งแต่นั้นมาชื่อวัด และหมู่บ้าน จึงได้ชื่อว่า ปงสนุก

(https://img-ha.mthcdn.com/p3k7sYhZ7u2KNAMtFnrJg4JEsg8=/mthai.com/app/uploads/2023/07/22_north_pongsanuk_lampang_66.jpg)


ม่อนดอย หรือ วัดบน

สถานที่สำคัญในวัดนั้นคือ “ม่อนดอย” ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดบน อันเปรียบเป็นเนินเขาพระสุเมรุ ศูนย์กลางแห่งจักรวาล ซึ่งเป็นที่ตั้งของวิหารพระเจ้าพันองค์และพระธาตุศรีจอมไคล

(https://img-ha.mthcdn.com/VhKfEA4UulSx7pugrAPobd2Wfew=/mthai.com/app/uploads/2023/07/24_north_pongsanuk_lampang_66.jpg)


[/size=12pt] วิหารพระเจ้าพันองค์ [/size]

(https://img-ha.mthcdn.com/o4j5Z-gCFbgyZIjfH7RLhvKCCwY=/mthai.com/app/uploads/2023/07/09_north_pongsanuk_lampang_66.jpg)

           วิหารพระเจ้าพันองค์ เป็นวิหารไม้ทรงจัตุรมุขที่มีอายุกว่า 120 ปี ในปัจจุบันนับเป็นวิหารโถงหลังเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่ในเมืองไทย จนองค์การ UNESCO ให้รางวัล “Award of Merit” ในปี 2008 ซึ่งถือเป็นธรรมสถานเดียวในประเทศไทยที่ได้รับรางวัลนี้ และด้วยความงามทางสถาปัตยกรรมอันผสมผสานระหว่างศิลปะพื้นเมืองล้านนา พม่า และจีน อย่างลงตัว จึงทำให้วิหารพระเจ้าพันองค์นี้ กลายเป็นแม่แบบให้อาคารหลังอื่นในประเทศไทยอีกด้วย เช่น หอคำ ไร่แม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย

(https://img-ha.mthcdn.com/Cds2GvsT1SZ1EU4jcCzUgwlhUHM=/mthai.com/app/uploads/2023/07/18_north_pongsanuk_lampang_66.jpg)


พระพุทธรูป 4 ทิศ

(https://img-ha.mthcdn.com/qM77HFaAmfCkWvoEkENP4Iz9QBA=/mthai.com/app/uploads/2023/07/16_north_pongsanuk_lampang_66-768x1024.jpg)

(https://img-ha.mthcdn.com/NRm_UGdwfO1k91tTxODdwTnYm8U=/mthai.com/app/uploads/2023/07/15_north_pongsanuk_lampang_66.jpg)

           ภายวิหารประดิษฐานพระพุทธรูป 4 ทิศ บริเวณด้านบนรอบในของตัววิหารประดับด้วยพระพิมพ์องค์เล็กจำนวนมากถึง 1,080 องค์ จึงเป็นที่มาของชื่อ วิหารพระเจ้าพันองค์ ผู้คนมักมากราบไหว้ขอพร สะเดาะเคราะห์ ด้วยเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองลำปาง

(https://img-ha.mthcdn.com/QgB6_H1-YEmDBTw4hXmSmctlCvc=/mthai.com/app/uploads/2023/07/14_north_pongsanuk_lampang_66-577x1024.jpg)

(https://img-ha.mthcdn.com/TdTEIzoyaDEeQxF2XvGl2g9A0Hk=/mthai.com/app/uploads/2023/07/12_north_pongsanuk_lampang_66.jpg)

(https://img-ha.mthcdn.com/_WAInOFoBkpdWY-V8YfF53DBT24=/mthai.com/app/uploads/2023/07/11_north_pongsanuk_lampang_66.jpg)

(https://img-ha.mthcdn.com/QNDqJeS41N4fntExcyj_52uqE-A=/mthai.com/app/uploads/2023/07/10_north_pongsanuk_lampang_66.jpg)

(https://img-ha.mthcdn.com/uiKEcjxAMfgzUDIkOCoPkonx6HY=/mthai.com/app/uploads/2023/07/21_north_pongsanuk_lampang_66.jpg)


พระธาตุศรีจอมไคล

(https://img-ha.mthcdn.com/A9spB7F49eNOXR8nMFiJqx-y-ok=/mthai.com/app/uploads/2023/07/05_north_pongsanuk_lampang_66-577x1024.jpg)

ภายในบริเวณวิหาร จะเจอกับพระธาตุศรีจอมไคล ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ และมักจะเข้ามากราบไหว้ขอพรกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อความเป็นสิริมงคลให้กับชีวิต

(https://img-ha.mthcdn.com/VTTaFvn9ONM236aGUDlW1VJvTaE=/mthai.com/app/uploads/2023/07/04_north_pongsanuk_lampang_66.jpg)

(https://img-ha.mthcdn.com/2toThJQUvGqEqEriWVEEWgj5rqQ=/mthai.com/app/uploads/2023/07/08_north_pongsanuk_lampang_66.jpg)


วิหารพระนอน

(https://img-ha.mthcdn.com/KirjpYP99APCkkamZ5OBnD7wDBw=/mthai.com/app/uploads/2023/07/03_north_pongsanuk_lampang_66.jpg)

(https://img-ha.mthcdn.com/PJNPmSiPP0IT2t5AcjAl3EwhcTM=/mthai.com/app/uploads/2023/07/06_north_pongsanuk_lampang_66.jpg)

(https://img-ha.mthcdn.com/7fa9gz5GOwRGW7orwql_6tdBuYY=/mthai.com/app/uploads/2023/07/07_north_pongsanuk_lampang_66.jpg)

ตัววิหารก่อ และประดับตกแต่งด้วยปูนปั้นศิลปะล้านนา ประดับกระจกอย่างวิจิตร ภายในประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์


(https://img-ha.mthcdn.com/MGSslv3_Ho6teSny80fySt6UNvY=/mthai.com/app/uploads/2023/07/13_north_pongsanuk_lampang_66.jpg)

ประวัติการก่อสร้างวิหารพระนอน และวิหารพระเจ้าพันองค์

           จุลศักราช 1223 (พ.ศ. 2414) เดือนเกี๋ยง ขึ้น 13 ค่ำ ข้าฯ (ตุ๊อาโนชัย) ได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ก่อสร้างยังวิหารพระนอน และพระพุทธรูปเจ้านอน วัดปงสนุกเหนือ เสี้ยง (หมดสิ้น) สะตาย (ปูน) น้ำหนัก 1 ล้าน 1 แสน ใส่น้ำฮัก (รัก) 122 กระบอก และ 10,000 หม้อแก้ว (กระจก) 1,600 แผ่น ทองคำเปลว 18,830 แผ่น ตาปู 7,000 เล่ม ดินขอ (กระเบื้อง) 14,000 แผ่น

(https://img-ha.mthcdn.com/sWtKQe8n6_9cfkiyOLJL9oLTfAA=/mthai.com/app/uploads/2023/07/23_north_pongsanuk_lampang_66-577x1024.jpg)

           จุลศักราช 1249 (พ.ศ. 2430) ในปีที่ผ่านมา ( จ.ศ. 1248 พ.ศ. 2429) ข้าฯ (ตุ๊อาโนชัย) ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดปงสนุกเหนือครั้งใหญ่ คือ ได้สร้างฉัตร 4 ใบ และซ่อมพระธาตุเจ้า สร้างวิหารหลังมียอด (มณฑป, วิหารพระเจ้าพันองค์) และวิหารหลังลุ่ม ตลอดถึง กุฏิ, ฆ้อง, กลอง, ระฆัง ได้ก่อซุ้มประตูโยง สร้างพญานาคขึ้นบันไดทั้ง 3 ด้าน ปิดทองคำเปลวพระนอน สิ้นทองคำเปลวทั้งหมด 28,300 แผ่น ได้ก่อสร้างกำแพงรอบชั้นบน ได้สร้างวิหารพระนอน ได้สร้างอาสนา (เครื่องหลวง) หีบธรรม, แท่นแก้ว, ศาลาบาตร 4 หลัง, จองเบิก 1 หลัง และได้หล่อพระพุทธรูปพิมพา 1,080 องค์ติดมณฑป เสร็จแล้วได้ทำบุญฉลองในปีจุลศักราช 1249 (พ.ศ. 2430) โดยนิมนต์พระสังฆเจ้า และเจ้าบุญรัฐบุรีศรีบุญเลิศ และแม่เจ้าคำปิ๋ว พร้อมตายะกะ (ทายก) ตายิกา (ทายิกา) ทั้งหลาย และผู้ร่วมฮอมตาน (บริจาค) ดังนี้ เจ๊กฟอง 10 แถบ, หลานนางคำมวล 10 แถบ, เจ้าเมือง 1 แถบ, เจ้าเมืองใจ – เจ้าล้อม 1 แถบ, เจ้าพระยางำเมือง 2 แถบ, แม่ป้าบุตร 5 แถบ, ตุ๊เจ้าปินตา วัดปงสนุกใต้ ดินกี่(อิฐ) 1,000 ก้อน, พ่อเลี้ยงน้อย ดินกิี่ 5,000 ก้อน, เจ้าพระยามหาเทพ – เจ้าหนานสาร ค้ำปูนน้ำหนัก 1 ล้าน 1 แสน

(https://img-ha.mthcdn.com/hUw8wQW38_V7WA4CPT8Oj6sSZso=/mthai.com/app/uploads/2023/07/02_north_pongsanuk_lampang_66-577x1024.jpg)

ที่มาจาก หนังสือ “ประวัติวัดปงสนุกเหนือ และประวัติบันทึกครูบาอาโนชัยธรรมจินดามุณี” เรียบเรียงโดย พระครูพุทธิธรรมโสภิต จากบันทึกคัมภีร์ของครูบาอาโนชัย ในภาษาล้านนา (ตั๋วเมือง)

(https://img-ha.mthcdn.com/TIjP8_qi7qJqMP-M_VfkYhybqN8=/mthai.com/app/uploads/2023/07/01_north_pongsanuk_lampang_66-577x1024.jpg)

(https://img-ha.mthcdn.com/9iDGDN2wIIE3IUFBSS75Bv5Yn6o=/mthai.com/app/uploads/2023/07/17_north_pongsanuk_lampang_66.jpg)

           ในอดีตวัดปงสนุกเหนือเป็นวัดที่มีขนาดใหญ่มาก และด้วยความที่มีขนาดใหญ่นี่เอง จึงทำให้มีพระภิกษุเข้ามาจำพรรษาเป็นจำนวนมาก ภายหลังทางวัดจึงได้แยกออกเป็น 2 วัดโดยปริยาย ซึ่งมีชื่อเรียกว่า วัดปงสนุกใต้ และ วัดปงสนุกเหนือ

หากใครมาเที่ยวลำปางแล้วเห็น 2 วัดนี้ ตั้งอยู่ในเขตใบพัทธสีมาเดียวกันก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะทั้งสองวัดเป็นวัดพี่วัดน้องกันนั่นเอง

ภาพโดย อ.ณัฐ

ที่ตั้ง : ุ 60 ถ. ปงสนุก หมู่บ้านปงสนุก ต.เวียงเหนือ อ.เมือง ลำปาง 52000
Google map :   https://goo.gl/maps/ePcAwD9GqRemmMi86