soupvanclub
=> อาราม และเรื่องเล่าเมืองล้านนา => ข้อความที่เริ่มโดย: ลุงซุป เชียงใหม่ ที่ 14 กันยายน 2558, เวลา 18:27:45 น.

หัวข้อ: หริภุญไชย
เริ่มหัวข้อโดย: ลุงซุป เชียงใหม่ ที่ 14 กันยายน 2558, เวลา 18:27:45 น.
[attach=1]

พระธาตุเด่น พระรอดขลัง ลำไยดัง กระเทียมดี ประเพณีงาม จามเทวีศรีหริภุญไชย

          นครหริภุญไชย หรือ ลำพูน สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1200 โดยฤาษีวาสุเทพได้เกณฑ์พวกเมงคบุตรเชื้อสายมอญมาสร้าง ครั้นสร้างเสร็จ ได้เชิญพระธิดาพระมหากษัตริย์แห่งกรุงละโว้ พระนามว่า จามเทวี มาปกครอง
          จากนั้นก็มีกษัตริย์ครองเมืองสืบต่อมาหลายราชวงศ์ จนมาถึงสมัยกรุงธนบุรี พระเจ้ากาวิละได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้ากรุงธนบุรี ทำการขับไล่พม่าจนสำเร็จ และไปครองเมืองเชียงใหม่ โดยให้เจ้าคำฝั้นน้องชายปกครองเมืองลำพูน
          ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ลำพูนมีฐานะเป็นเมืองขึ้น มีเจ้าผู้ครองนครสืบต่อกันมาจนถึงพลตรีเจ้าจักรคำขจรศักดิ์เป็นเจ้าผู้ครองนคร และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 จึงได้ยกเลิกตำแหน่งเจ้าผู้ครองนคร ...


สถานที่เที่ยวชมในเขตอำเภอเมืองลำพูน

          -  วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร (องค์พระธาตุประจำปีเกิดของคนเกิดปีระกา) พิกัด gps. 18.577088, 99.088518
          สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้าน คู่เมืองลำพูน และภาคเหนือ มานานกว่าพันปี เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวลำพูน และชาวไทยทั่วประเทศ ใครได้มากราบขอพร จะมีความเจริญรุ่งเรือง โชคดี สมปรารถนา
          สิ่งที่น่าสนใจในวัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร
          -  ซุ้มประตูโขง
          สร้างในสมัยศรีวิชัย ด้านหน้าซุ้มประตู มีสิงห์ใหญ่คู่หนึ่งยืนเป็นสง่า บนแท่นสูงประมาณ 1 เมตร สิงห์คู่นี้สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอาทิตยราช เมื่อทรงถวายวัง ให้เป็นสังฆาราม
          -  วิหารหลวง
          สร้างขึ้นใหม่แทนที่วิหารหลังเก่า ซึ่งถูกพายุพัดพัง โดยครูบาศรีวิชัย นับุญแห่งล้านนาไทย ใช้เป็นที่บำเพ็ญกุศล และประกอบศาสนกิจทุกวันพระ ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธปฏิมาใหญ่ 3 องค์ และ พระพุทธปฏิมาโลหะ ขนาดกลางสมัยเชียงแสนชั้นต้น และ ชั้นกลาง อีกหลายองค์
          -  องค์พระบรมธาตุหริภุญไชย
          ประดิษฐานพระเกศธาตุบรรจุในโกศทองคำ เจดีย์มีลักษณะใกล้เคียงกับองค์พระธาตุดอยสุเทพของจังหวัดเชียงใหม่ เป็นปูชนียสถานอันสำคัญยิ่งของอาณาจักรล้านนามาตั้งแต่สมัยโบราณ
          -  พระสุวรรณเจดีย์ หรือ ปทุมวดีเจดีย์
          สร้างโดยพระนางปทุมวดี อัครมเหสีของพระเจ้าอาทิตยราช ฝีมือช่างละโว้ ยอดพระเจดีย์มีทองเหลืองหุ้มอยู่ ภายใต้ฐานล่างเป็นกรุบรรจุพระเครื่อง

          -  วัดจามเทวี หรือ วัดกู่กุด  พิกัด gps. 18.581695, 98.996194       
          พระนางจามเทวีทรงนำช่างชาวละโวั สร้างองค์พระเจดีย์สุวรรณจังโกฏ ลักษณะพระเจดีย์เป็นรูปสี่เหลี่ยมแบบพุทธคยาในอินเดีย ทุกๆ ด้านมีพระพุทธรูปยืนปางประทานพร ศิลปกรรมของลพบุรี ภายในบรรจุพระอัฐิของพระนางจามเทวี ต่อมายอดพระเจดีย์หักหายไปไม่ทราบแน่ว่าสมัยใด จึงเป็นที่มาของ คำว่า กู่กุด ที่เรียกกันโดยทั่วไป

          -  อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี   พิกัด gps. 18.574658, 99.004241
          สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระนางจามเทวี บรมราชนารี ศรีสุริยวงศ์ องค์บดินทร์ ปิ่นธานีหริภุญชัย ซึ่งเป็นองค์ปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญไชย พระนางเป็นปราชญ์ที่มีคุณธรรม มีความสามารถและกล้าหาญ ได้นำพุทธศาสนาศิลปวัฒนธรรมมาเผยแพร่ในดินแดนแถบนี้จนมีความ รุ่งเรืองมาจนถึงปัจจุบัน

          -  คุ้มเจ้าหลวงเมืองลำพูน
          เจ้าหลวงลำพูนองค์สุดท้าย คือ พลตรี มหาอำมาตย์โท เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ มีชายา 4 องค์ และ หม่อม 2 คน ชายาท่านแรก คือ แม่เจ้าขานแก้ว ธิดาเจ้าบุรีรัตน์ ชายาองค์ที่สอง คือ แม่เจ้าแขกแก้ว ชายาองค์ที่สาม คือ เจ้าหญิงส่วนบุญ สุดท้าย คือ แม่เจ้ายอดเรือน และหม่อมอีก 2 คน คือ หม่อมคำแยง และ หม่อมแว่นแก้ว
          คุ้มเจ้าหลวงหลังสุดท้าย อยู่กลางเมืองลำพูน บนจั่วหลังคาด้านหน้ามีอักษรย่อ จค. ซึ่งหมายถึง จักรคำขจรศักดิ์ เจ้าของอาคารหลังนี้ คุ้มหลวงลำพูนแห่งนี้ เป็นมรดกตกทอดอ ยังไม่ได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชม

          -  กำแพงเมือง คูเมือง ประตูเมืองลำพูน
          กำแพงเมือง และ คูเมือง ในปัจจบัน สร้างขึ้นในสมัย พระเมืองแก้ว ซึ่งได้บูรณะปฏิสังขรณ์เมืองลำพูนขึ้นใหม่ มีประตูเมืองโดยรอบ 6 ประตู
          -  ทิศตะวันออก ซึ่งเป็นด้านหน้าเมืองมี 3 ประตู คือ 1. ประตูท่าขาม หรือ ประตูท่าข้าม 2. ประตูท่าสิงห์ หรือ ประตูขัว 3. ประตูท่านาง
          -  ทิศเหนือ มี 1 ประตู ชื่อ ประตูช้างสี
          -  ทิศใต้ มี 1 ประตู ชื่อ ประตูลี้
          -  ทิศตะวันตก มี 1 ประตู ชื่อ ประตูมหาวัน

          -  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย   พิกัด gps. 18.577185, 99.006746 
          จัดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นที่รวบรวม และ จัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุ ในปี พ.ศ. 2470 แรกตั้งใช้ชื่อ พิพิธภัณฑสถาน ลำพูน โดยอยู่ในความดูแลของวัดพระธาตุหริภุญชัยฯ และจังหวัดลำพูน จนกระทั่งกรมศิลปากรได้ดำเนินการขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุในพิพิธภัณฑ์  และประกาศเป็น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของกรมศิลปากร ตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2504 เป็นต้นมา ...