soupvanclub
=> พิกัดเที่ยว => ข้อความที่เริ่มโดย: ลุงซุป เชียงใหม่ ที่ 25 พฤษภาคม 2566, เวลา 17:25:24 น.

หัวข้อ: Chiang Rai : Wiang of Light
เริ่มหัวข้อโดย: ลุงซุป เชียงใหม่ ที่ 25 พฤษภาคม 2566, เวลา 17:25:24 น.
Chiang Rai :  Wiang of Light หลงแสงเวียง ที่ เจียงฮาย (https://www.sanook.com/travel/1437823/)
 บทความจาก  (https://www.facebook.com/soupvan) :  sanook.com (https://www.sanook.com/travel/)

(https://s.isanook.com/tr/0/rp/rc/w728h437/yatxacm1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjg3LzE0Mzc4MjMvZ2V2di5qcGc=.webp)

           วันนี้นวลจะชวนทุกคนไปชื่นชมความยิ่งใหญ่ตระการตาของเชียงรายบนเส้นทางแห่งกาลเวลา สะท้อนประวัติศาสตร์ในยุคต่างๆ ของเวียงเจียงฮาย ผ่านการแสดงแสงสีตระการตา ในคอนเซ็ปต์ "Time & Travel" กับ 15 จุดเช็คทั่วเมืองเชียงราย โดยที่แต่ละจุดจะนำเสนอความโดดเด่นทางสถาปัตย์ และอัตลักษณ์พื้นถิ่นด้วยแนวคิด และเทคนิคการจัดแสงสีที่สวยงามแตกต่างกันออกไป

[attach=1]

(https://s.isanook.com/tr/0/rp/r/w728/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjg3LzE0Mzc4MjMvaWFuXzA4NDguanBn.jpg)

(https://s.isanook.com/tr/0/rp/r/w728/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjg3LzE0Mzc4MjMvaWFuXzA3OTAuanBn.jpg)

           งานนี้นวลต้องกระซิบบอกว่า ไม่ว่าเพื่อนๆ จะเป็นนักท่องเที่ยวสายประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม ทีมถ่ายรูป ทีมเช็คอิน ทีมแต่งสวย หรือทีมอะไรก็แล้วแต่ ทุกคนไม่ควรพลาด
          “ตกเย็นโทรถามเพื่อนสาว ว่า คืนนี้เราจะไปไหนกันดี”
          “เพื่อนสาวเธอตอบอย่างไม่ลังเลใจ ถ้าคืนนี้ไป อยากไปดูแสงสี !”
          โอเค จัดไป !!
          หลังพระอาทิตย์ตกปุ๊บ ก็ได้เวลาที่นวลนัดกับเพื่อนไว้ วันนี้เราจะไปตะลุยเวียงเจียงฮาย ถ่ายรูป เดินชมงานแสดงแสงสี "วิจิตร 5 ภาค @เชียงราย หลงแสงเวียง ที่เจียงฮาย"
          แน่นอนว่าเรารีบพากันออกไปชมกันตั้งแต่หัวค่ำ เพราะงานดีๆ แบบนี้ไม่ได้มีให้เราได้ชมบ่อยๆ แถมจุดแสดงแสงสีก็มีให้ชมถึง 15 จุด ทั่วเมืองเชียงราย ซึ่งนวลคุยกับเพื่อนแล้วว่า ต้องเก็บให้หมด !
          ค่ำนี้เรานัดกันที่หอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติ หลังจากทานข้าวเย็นเติมพลังกันเรียบร้อย เราก็พร้อมออกย่ำรอบเมืองเชียงราย ไปยังจุดเช็คอิน 15 จุด ด้วยระยะทางทั้งหมดกว่า 5 กม.

          Let’s goooooo !!


1.  หอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ (หอนาฬิกาพุทธศิลป์) (https://goo.gl/maps/E2TLE2TXSRXaGZrt9)

(https://s.isanook.com/tr/0/rp/r/w728/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjg3LzE0Mzc4MjMvc2NyZWVuc2hvdF8yMDIzMDUxOV8xOTQ4MDlfZmEuanBn.jpg)

           เราเริ่มต้นชื่นชมงานแสดงแสงสีกันที่แรกที่หอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติฯ ซึ่งเป็นหอนาฬิกาที่สวยมากของไทย ด้วยการแบบของอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ โดยหอนาฬิกาแห่งนี้เป็นหอนาฬิกาสีทองที่ประดับด้วยลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์ สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง


2.  ถนนเชื่อมหอนาฬิกา

(https://s.isanook.com/tr/0/rp/r/w728/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjg3LzE0Mzc4MjMvaWFuXzA3ODUuanBn.jpg)


           เราเดินต่อมาชมความปัง ฟีลหนังไซไฟที่มีฉากหลังเป็นหนังประวัติศาสตร์ เพราะบนถนนเส้นนี้เขามีการจัดแสงสีด้วยเทคนิค Laser & Mirror ด้วยการยิงเลเซอร์ถักเป็นตาข่ายเหนือพื้นถนน เหมือนเป็นคลื่นแสงเชื่อมสองเวลา และสองสถานที่เข้าด้วยกัน มันต๊าซซซมากแม่


3.  หอนาฬิกาเก่า เชียงราย (https://goo.gl/maps/tVB7SgYa5JxNqhUn8)

(https://s.isanook.com/tr/0/rp/r/w728/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjg3LzE0Mzc4MjMvZHNjMDE2MDguanBn.jpg)

           นวลเดินตามถนนสุขสถิตย์มาเรื่อยๆ จนถึงหอนาฬิกาเก่าของจังหวัดเชียงราย
          ที่นี่จัดแสดงแสงสีด้วยคอนเซ็ปต์ Classical Time ด้วยเทคนิค Luminous Light ซึ่งเป็นการยิงแสงสีขาวล้อมรอบหอนาฬิกา อวดโฉมช่วงเวลาหนึ่งในอดีต ที่หอนาฬิกาแห่งนี้เคยเป็นตัวแทนที่สื่อถึงความเจริญของเมืองเชียงราย


3.  กาดก่อเมือง (https://goo.gl/maps/kzof8D7CGGc4ywT58)

(https://s.isanook.com/tr/0/rp/r/w728/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjg3LzE0Mzc4MjMvX2lhbjEwNzYuanBn.jpg)

(https://s.isanook.com/tr/0/rp/r/w728/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjg3LzE0Mzc4MjMvX2lhbjExMDMuanBn.jpg)

(https://s.isanook.com/tr/0/rp/r/w728/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjg3LzE0Mzc4MjMvaWFuXzA2ODguanBn.jpg)

           การค้าไม่เคยแยกจากมิติทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม แต่ผสานกลมกลืนเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของผู้คนมายาวนาน การค้าของรัฐดินแดนตอนใน (ไม่ติดทะเล) อย่างล้านนา มีส่วนอธิบายการก่อรูปของรัฐผ่านการปฏิสัมพันธ์กันของกลุ่มคนในระดับต่างๆ และพื้นที่ทางการค้าเหล่านี้เองที่สร้างเงื่อนไขของกระบวนการรับรู้ความต่างระหว่างชาติพันธุ์ ฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและเข้ามากระทบต่อโครงสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าการแลกเปลี่ยนจึงส่งผลต่อการปรับตัวและการเปลี่ยนแปลงมิติความสัมพันธ์ในด้านอื่นไปด้วยพร้อมกัน (ผู้เขียน : วราภรณ์ เรืองศรี)


4.  ตึกสามเหลี่ยม

(https://s.isanook.com/tr/0/rp/r/w728/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjg3LzE0Mzc4MjMvaWFuXzA4MTUuanBn.jpg)

           เรามาต่อกันที่ตึกสามเหลี่ยม ที่ตอนนี้ถูกประดับประดาและฉายสว่างด้วยแสงนีออน เห็นแบบนี้ปุ๊บ ดนตรีกับเนื้อเพลงหนาวแสงนีออน ลอยเข้ามาในหัวนวลทันทีเลยจ้า 55555
          แต่ว่าไม่ได้นะ การจัดแสงสีที่นีเขาสวยอลังจริง ด้วยรูปทรงแปลกตาของตึกสามชั้นที่เห็นอยู่เบื้องหน้า กับเทคนิคการจัดแสง LED Neon Night ใต้แนวคิด Neon Era ที่นำเอาไฟนีออนมาใช้ในการตกแต่งและจัดวางเป็นศิลปะ สร้างเอกลักษณ์ และสะท้อนถึงยุคสมัยหนึ่งในอดีต


5.  วัดมิ่งเมือง (https://goo.gl/maps/v3vJfEeTvhtM9Pa87)

(https://s.isanook.com/tr/0/rp/r/w728/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjg3LzE0Mzc4MjMvaWFuXzA3NTcuanBn.jpg)

           เราเดินมาชมความอลังการของแสงสีและสถาปัตยกรรมท้องถิ่นกันต่อที่วัดมิ่งเมือง (https://th.wikipedia.org/wiki/วัดมิ่งเมือง) หรือที่ชาวเชียงรายเรียกกันว่า วัดจ๊างมูบ (ช้างหมอบ) หรือ วัดตะละแม่ศรี ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองเชียงราย ตั้งอยู่ตรงสี่แยกขัวดํา ใกล้หอนาฬิกา
          วัดมิ่งเมืองเป็นสถาปัตยกรรมศิลปะผสม ระหว่างพม่าและล้านนา การันตีความวิจิตรงดงามทั้งภายในและภายนอก


6.  มูลนิธิสาธารณกุศลสงเคราะห์เชียงราย (https://goo.gl/maps/9cLMnaaGcomNUPMe6)

(https://s.isanook.com/tr/0/rp/r/w728/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjg3LzE0Mzc4MjMvaWFuXzA4NjIuanBn.jpg)

           ไปต่อจ้า ...
          เราเดินมาชมแสงสีกันต่อที่มูลนิธิสาธารณกุศลสงเคราะห์เชียงราย ที่นี่มีการจัดแสดงแสงสีภายใต้แนวคิด Power of Gods ด้วยเทคนิค Red & Gold Lights โดดเด่นด้วยสีแดงและสีทอง ซึ่งเป็นสีแห่งความโชติช่วงชัชวาล และเป็นตัวแทนของความมั่งคั่ง โชคดี ซึ่งเราก็ไม่พลาดถ่ายรูปเช็คอิน เรียกความปังต่อเนื่องแบบไม่หยุด ฉุดไม่อยู่ รัวชัตเตอร์วนไปจ้า


7.  วัดพระแก้ว เชียงราย (https://goo.gl/maps/VyF8Mn935KHhCHGCA)

(https://s.isanook.com/tr/0/rp/r/w728/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjg3LzE0Mzc4MjMvZHNjMDE2NzIuanBn.jpg)

           หลังจากถ่ายรูปเช็คอินที่มูลนิธิสาธารณกุศลสงเคราะห์เชียงรายจนพอใจแล้ว เราก็ไปต่อกันที่วัดพระแก้ว (https://th.wikipedia.org/wiki/วัดพระแก้ว_(อำเภอเมืองเชียงราย)) บนถนนไตรรัตน์ ใจกลางเมืองเชียงราย ซึ่งวัดนี้เป็นสถานที่แรกที่มีการค้นพบพระแก้วมรกต หรือพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ในกรุงเทพฯ
          ตามประวัติเล่าว่า เมื่อปี พ.ศ. 1897 ในสมัยพระเจ้าสามฝั่งแกน เป็นเจ้าครองเมืองเชียงใหม่ ฟ้าได้ผ่าเจดีย์ร้างองค์หนึ่ง และได้พบพระพุทธรูปลงรักปิดทองอยู่ภายในเจดีย์ ต่อมาจึงได้พบว่าเป็นพระพุทธรูปสีเขียวที่สร้างด้วยหยก ซึ่งก็คือพระแก้วมรกตนั่นเอง ปัจจุบันวัดพระแก้วเชียงรายได้สร้างและประดิษฐานพระหยก ซึ่งสร้างขึ้นมาใหม่


8.  ศาลากลางจังหวัด (เก่า)

(https://s.isanook.com/tr/0/rp/r/w728/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjg3LzE0Mzc4MjMvaWFuXzA2NTcuanBn.jpg)

           “คุณได้ไปต่อค่ะ”
          เราเดินหน้าไปชื่นชมความตระการตาของแสงสีกันต่อแบบไม่สะดุด ที่ ศาลากลางจังหวัดเชียงรายหลังเก่า
          ที่ศาลากลางหลังเก่ามีการนำเสนอแสงสีในรูปแบบ Concept Motion l Chiang Rai, Wiang of Light ด้วยเทคนิค Projection 3D Mapping บอกเล่าถึงที่มาของแนวคิดของการจัดงาน พร้อมนำเสนอข้อมูลเส้นทางการชมสถานที่จัดงาน ทั้ง 15 จุดทั่วเมืองเชียงราย
          สวยแจ่ม ไม่ผิดหวัง บอกเลย ...


9.  ศูนย์วัฒนธรรมนิทัศน์และพิพิธภัณฑ์เมืองเชียงราย 750 ปี (หอประวัติเมืองเชียงราย) (https://goo.gl/maps/gR2cZmSCQyC9agsC7)

(https://s.isanook.com/tr/0/rp/r/w728/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjg3LzE0Mzc4MjMvaWFuXzA4MjIuanBn.jpg)

           เดินมาถึงหอประวัติเมือง ภาพที่เห็นอยู่ตรงหน้าชวนให้นวลนึกถึงหนังเรื่อง Night at the Museum ด้วยความสวยงามของตัวอาคาร บวกกับการจัดแสงสีตระการตาด้วยเทคนิค Colorful Par Light ที่ใช้วิธีตกแต่งด้านนอกตัวอาคารด้วยไฟหลากสี เชื้อเชิญให้ผู้คนเข้าไปชมนิทรรศการภายในอาคาร โดยเฉพาะช่วงงานหลงแสงเวียงเจียงฮายนี้ ทางหอประวัติเมืองได้ขยายเวลาเปิดทำการภาคกลางคืนเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมด้วยนะทุกโค้นนนน


10.  แมงสี่หู ห้าตา

(https://s.isanook.com/tr/0/rp/r/w728/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjg3LzE0Mzc4MjMvaWFuXzA4NDEuanBn.jpg)

           แมงสี่หู ห้าตา เป็นชื่อสัตว์ประหลาดตัวหนึ่งในตํานานว่าด้วยวัดพระธาตุดอยเขาควายแก้ว มีลักษณะเหมือน หมีสีดําตัวอ้วน มีหูสองคู่ และตาห้าดวง กินถ่านไฟร้อนเป็นอาหาร และถ่ายมูลเป็นทองคํา ที่เก๋ไก๋ไปกว่านั้นคือ แมงสี่หู ห้าตา เคยได้รับการคัดเลือกให้เป็นมาสคอตประจำงานกีฬาแห่งชาติครั้งที่ 36 "เจียงฮายเกมส์" ด้วยนะ


11.  ต้นไม้ใหญ่

(https://s.isanook.com/tr/0/rp/r/w728/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjg3LzE0Mzc4MjMvaWFuXzA3MTYuanBn.jpg)

           หลังจากชื่นชมโคมไฟแมงสี่หู ห้าตา เสร็จ นวลกับเพื่อนก็ตรงลงมาที่จุดจัดแสดง ‘ต้นไม้ใหญ่’ ซึ่งจัดอยู่ที่กลุ่มต้นไม้ใหญ่บริเวณริมถนนสิงหไคล เพื่อเป็นตัวแทนของความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า การรักษาระบบนิเวศและความยั่งยืนร่วมกันของคนเชียงรายกับป่าไม้


12.  บ้านสิงหไคล

(https://s.isanook.com/tr/0/rp/r/w728/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjg3LzE0Mzc4MjMvaWFuXzA2ODAuanBn.jpg)

           เดินออกมาไม่ไกลนัก นวลก็มาถึงบ้านสิงหไคล ซึ่งเป็นอีกหนึ่งจุดแสดงแสงสีที่สวยงามไม้แพ้จุดอื่นๆ ที่จุดนี้มีการจัดแสงสีด้วยเทคนิค Tiny Light Bulbs Par Light โดยใช้แสงอาบฉาบผิวด้านนอก และใช้แสงสว่างออกมาจากภายในตัวบ้าน ผ่านช่องหน้าต่าง เพื่ออวดสัดส่วนการออกแบบบ้านอันสวยงาม และตกแต่งรอบบ้านด้วยไฟเม็ดถั่ว ในคอนเซ็ปต์ Shape of House


13.  ตู้โทรศัพท์

(https://s.isanook.com/tr/0/rp/r/w728/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjg3LzE0Mzc4MjMvX2lhbjExMzMuanBn.jpg)

           ออกจากบ้านสิงหไคล เราก็ไปกันต่อที่จุดจัดแสดงแสงสี ‘ตู้โทรศัพท์’ ซึ่งสะท้อนถึงอีกหนึ่งประวัติศาสตร์การสื่อสารของคนเชียงรายในอดีตที่เปลี่ยนผ่านไป ในแนวคิด Silent Call ด้วยเทคนิค Light Inside Box-Phone ซึ่งเป็นการติดตั้งแสงภายในตู้โทรศัพท์แบบหยอดเหรียญ เพื่อคืนชีวิตให้กับตู้โทรศัพท์ให้ดูมีชีวิตชีวาขึ้นมาอีกครั้ง ว่าแล้วก็นึกถึงสมัยก่อนที่นวลต้องแลกเหรียญไปยืนเข้าแถวรอหน้าตู้โทรศัพท์ทุกวันหลังเลิกเรียนซะจริงๆ
          “โทรหาแหน่เด๊อ จำเบอร์โทรน้องได้บ่ ?” แน่ะ เพลงมาอีกละ 555


14. สวนตุงและโคม

(https://s.isanook.com/tr/0/rp/r/w728/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjg3LzE0Mzc4MjMvaWFuXzA3NDcuanBn.jpg)

           นวลมาต่อที่สวนตุงและโคมเฉลิมพระเกียรติ 75พรรษา ซึ่งเป็นจุดที่จัดแสงสีด้วยเทคนิค Light Installation ออกมาเป็นประติมากรรมดอกพวงแสดส่องแสง ประกอบฉากแสงสีส้ม บนสวนสาธารณะกลางเมือง เนื่องจากดอกพวงแสดนั้นเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงรายนั่นเอง


15.  โบสถ์คริสตจักรที่ 1

(https://s.isanook.com/tr/0/rp/r/w728/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjg3LzE0Mzc4MjMvZHNjMDE1MjcuanBn.jpg)

           และแล้วนวลก็เดินทางมาถึงจุดจัดแสดงแสงสีจุดสุดท้าย ที่โบสถ์คริสตจักรที่ 1 เวียงเชียงราย ซึ่งใช้รูปแบบการจัดแสงสีแบบ Light vs Shadow ซึ่งเป็นการสู้กันระหว่างแสงและเงา ภาพที่ออกมาจึงดูสวยงามน่าค้นหา แน่นอนว่านวลไม่พลาดที่จะเก็บภาพความประทับใจและความสวยงามของการจัดแสงสีสะท้อนความเป็นมาของเวียงเจียงฮายจุดนี้ด้วย

           สำหรับเพื่อนๆ ที่สนใจไปชมการจัดแสดงแสงสีตระการทั้ง 15 สถานีประวัติศาสตร์แบบนวล งาน "วิจิตร 5 ภาค @เชียงราย หลงแสงเวียง ที่เจียงฮาย" จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 20 - 28 พ.ค. 2566 เวลา 18:00 - 24:00 น. ที่ อ.เมือง เชียงราย นะ ...

          อย่าลืมไปร่วมเสพงานศิลป์ สูดกลิ่นประวัติศาสตร์ด้วยกันเน้อทุกคน มาหลงแสงเวียงที่เจียงฮายพร้อมกัน ตั้งแต่วันที่ 20 - 28 พ.ค. 2566 เวลา 18:00 - 24:00 น.  ณ อ.เมือง เชียงราย