soup   van club                    
     
การท่องเที่ยว ที่มากกว่า การเที่ยวท่อง ..!!                    
     





soup van club     การท่องเที่ยว ที่มากกว่า การเที่ยวท่อง ..!!     ติดตามข่าวสารการท่องเที่ยว ... แวะมาเยี่ยมกันบ่อยๆ นะ คร๊าบ ..


บริษัท ไทยฮอตสปอต เน็ตเวิร์ค จำกัด สนใจโฆษณา Welcome to JustUsers.net
จีพีเอสเที่ยวไทยดอทคอม

....::::    ::::....         สมัครสมาชิกเว็บ ง่ายๆ ถ้ามีเฟซบุ๊คอยู่แล้ว     ในขั้นตอนสมัครสมาชิก   เจอหน้าแรก "กดยอมรับข้อตกลงของเว็บ Soup Van Club"     หน้าต่อไป ให้กดที่ภาพ   "ภาพเฟซบุ๊ค"   แล้วป้อนอะไรนิดหน่อย     จากนั้นรอสักครู่ ระบบจะพาเข้าเว็บอัตโนมัติ ..!!       ....::::    ::::....

ผู้เขียน หัวข้อ: สถาปัตยกรรมล้านนา สะท้อนความเจริญของพุทธศาสนาในอดีต  (อ่าน 3625 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ลุงซุป เชียงใหม่

  • soup chiangmai
  • Administrator
  • *
  • กดนิ้วโป้ง.! แทนคำขอบคุณ
  • -มอบให้: 631
  • -จึงได้รับ: 949
  • กระทู้: 2028
  • กำลังใจ : +928/-0
  • ลุงซุป เชียงใหม่
  • ระบบปฏิบัติการ:
  • Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
  • เบราเซอร์:
  • Chrome 88.0.4324.104 Chrome 88.0.4324.104
    • <b>กลุ่มพิเศษ..</b>
  • สมาชิกลำดับที่: 1
Share: โพสกระทู้นี้ลงใน Twitter ของคุณ  โพสกระทู้นี้ลงใน Facebook ของคุณ...              



          หากพูดถึงความเก่า ความหลัง ความขลัง ด้วยมนต์เสน่ห์เมืองน่าอยู่ "เชียงใหม่" คงเป็นชื่อที่ใครหลายๆ คนนึกอยู่ในใจ อีกทั้งเชียงใหม่ยังมีวัดวาอารามต่างๆ มากมาย โดยรอบคูเมืองเชียงใหม่เป็นที่ตั้งของวัดต่างๆ สะท้อนให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาของดินแดนล้านนาในอดีต ซึ่งเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศให้เดินทางมาเที่ยวเชียงใหม่

          วันนี้ "เชียงใหม่นิวส์" ขอยกตัวอย่างวัดที่มีความงดงามในจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีความโดดเด่นด้านสถาปัตยกรรมล้านนา ที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน ที่ใครผ่านไปผ่านมาก็อดเหลียวหลังไปชมความงามไม่ได้


สถาปัตยกรรมคืออะไร ?
          สถาปัตยกรรม หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกสิ่งก่อสร้าง รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสิ่งปลูกสร้างนั้น ที่มาจากการออกแบบของมนุษย์ ด้วยศาสตร์ทางด้านศิลปะ การจัดวางที่ว่าง ทัศนศิลป์ และวิศวกรรมการก่อสร้าง เพื่อประโยชน์ใช้สอย สถาปัตยกรรมยังเป็นสื่อความคิด และสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของสังคมในยุคนั้นๆ ด้วย เช่น บ้านเรือน, ตำหนัก, วัง และพระราชวัง วัด, สถูป, เจดีย์, โบสถ์, วิหาร เป็นต้น สิ่งก่อสร้างเหล่านี้ ล้วนมีความทนทาน มีอายุยาวนานปรากฏเป็นอนุสรณ์มาจนถึงปัจจุบัน


วัดที่มีความโดดเด่นด้านสถาปัตยกรรมล้านนา

1.  วัดโลกโมฬี


          วัดโลกโมฬี เป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ อายุกว่าห้าร้อยปี สร้างในสมัยอาณาจักรล้านนา มีสถาปัตยกรรมที่สวยงามมากมาย เช่น เจดีย์ของวัดโลกโมฬี เป็นเจดีย์ที่สร้างปลาย พุทธศตวรรษที่ 21 ตำนานระบุว่า สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลพระเมืองเกษเกล้า เมื่อ พ.ศ. 2071 เป็นเจดีย์ทรงปราสาท ภายในองค์เจดีย์ก็ได้ประดิษฐานอัฐิของพระองค์ด้วย วิหาร สร้างขึ้นด้วยไม้สักทั้งหลังซึ่งเป็นเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมแบบล้านนาโบราณ และโดดเด่นที่ รูปปั้นนาคาบริเวณทางขึ้นวิหาร ทำให้ดูน่าเกรงขาม ทั้งส่วนหน้าบันของวิหารได้ประดับไปด้วยกระจกสี หลังคาลงพื้นด้วยสีดำทำให้ขับกับแสงสะท้อนของกระจกดูสวยงามเป็นอย่างยิ่ง ส่วนด้านหลังของวิหารเป็นที่พำนักและกุฏิของสงฆ์ ซึ่งเป็นการสร้างขึ้นในแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ตั้งอยู่บริเวณทิศเหนือของตัวเมืองเชียงใหม่ ใกล้แจ่งหัวริน เป็นวัดประจำรัชกาลพระเมืองเกษเกล้า


          พระประธาน :  พระพุทธสันติจิรบรมโลกนาถ ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้บนพระเมาลี (มวยผม)
          ที่ตั้ง :  เลขที่ 229 ถนนมณีนพรัตน์ ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง เชียงใหม่




2.  วัดลอยเคราะห์


          วัดลอยเคราะห์ เดิมชื่อว่า “วัดร้อยข้อ” (วัดฮ้อยข้อ) สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ. 1910 ในสมัยพญากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์มังราย ช่วงปลายรัชสมัยพม่ายกทัพมาตีล้านนา และยึดครองล้านนาได้สำเร็จ วัดต่างๆ ในเชียงใหม่จึงถูกทิ้งร้างไป ต่อมาพระเจ้ากาวิละยกทัพไปตีเมืองเชียงแสนที่ยังคงอยู่ใต้การปกครองของพม่าได้สำเร็จ จึงได้กวาดต้อนชาวเชียงแสนมาอยู่ในเมืองเชียงใหม่ ชาวเชียงแสนตั้งบ้านเรือนอยู่ทางทิศตะวันออกของคูเมือง และมี “ชาวบ้านฮ่อม” ชาวเชียงแสนกลุ่มหนึ่งที่อพยพมาในสมัยนั้นได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดร้อยข้อขึ้นมาใหม่ และนำชื่อวัดในเมืองเชียงแสนมาตั้งเป็นชื่อใหม่ว่า “วัดลอยเคราะห์” วัดนี้ได้รับการดูแลจากชุมชนเสมอมา


          ล่าสุดได้รับการบูรณะใน ปี พ.ศ. 2550 - 2551 ซึ่งเป็นการบูรณะที่ยังคงรักษารูปแบบเดิมที่สร้างมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2408 พระวิหารของวัดตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของวัด เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนสถาปัตยกรรมล้านนา ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ใน ปี พ.ศ. 2545 หน้าบันโดดเด่นด้วยลายปูนปั้นพระพุทธรูปปางสมาธิ สัตว์ในวรรณคดี และลายพรรณพฤกษา ภายในประดิษฐาน “พระพุทธศุภโชคศรีลอยเคราะห์มิ่งมงคล” ซึ่งมีความเชื่อกันว่าหากผู้ใดมาสักการะจะหมดทุกข์โศกทั้งปวง

          ที่ตั้ง :  ถนนลอยเคราะห์ ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง เชียงใหม่




3.  วัดอุโมงค์ สวนพุทธธรรม


          วัดอุโมงค์ สวนพุทธธรรม สร้างขึ้นในสมัยพญามังรายราว ปี พ.ศ. 1839 เพื่อให้ฝ่ายอรัญวาสีจำพรรษา ต่อมาพญากือนา ทรงสร้างอุโมงค์ขึ้นเพื่อให้พระมหาเถระจันทร์ใช้เป็นที่วิปัสสนากรรมฐาน อุโมงค์นี้มีลักษณะเป็นกำแพงภายในเป็นทางเดินหลายช่องทะลุกันได้ ภายในอุโมงค์เคยมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง สันนิษฐานว่าวาดในระหว่าง พ.ศ. 1900 - 2000 แต่เดิมคงเป็นภาพจิตรกรรมเต็มบริเวณของทุกห้อง ส่วนใหญ่เป็นภาพดอกบัว ดอกโบตั๋น และ นกต่างๆ เช่น นกยูง, นกกระสา, นกแก้ว และนกเป็ดน้ำ ด้านบนอุโมงค์เป็นเจดีย์ที่มีอายุเก่าแก่ของล้านนา นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าสร้างประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 20 เป็นเจดีย์ทรงระฆัง มีชั้นทรงกลมประมาณ 3 ชั้นเหมือนกลีบบัวซ้อนกันอยู่ ด้านบนมีปลียอดด้านหน้าอุโมงค์มีเศียรพระพุทธรูปหินสลักสกุลช่างพะเยา



          ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 1950 – 2100 บริเวณวัดเป็นสวนพุทธธรรม ร่มรื่นด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ เป็นสวนป่าที่เหมาะกับการนั่งวิปัสสนา ด้านหลังเป็นสวนป่าและสวนสัตว์ซึ่งเป็นเขตอภัยทาน เดินเล่นได้ และเป็นสถานที่ดูนกที่ดีอีกแห่งหนึ่ง

          ที่ตั้ง :  เลขที่ 135 หมู่ที่ 10 ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง เชียงใหม่




4.  วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร


          พระเจดีย์หลวง สร้างขึ้นในรัชสมัยของพญาแสนเมืองมา พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย ไม่ปรากฏปีที่สร้างแน่ชัด สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้น่าจะสร้างใน ปี พ.ศ. 1928 – 1945 เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้พญากือนา พระราชบิดา แต่สร้างไม่เสร็จ ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมาพระนางเจ้าติโลกจุฑาราชเทวี พระมเหสีของพญาเมืองมา ก่อสร้างต่อจนแล้วเสร็จในรัชสมัยพญาสามฝั่งแกน เรียกกันว่า "กู่หลวง"


          พญาติโลกราช โปรดให้หมื่นด้ามพร้าคตเป็นนายช่างใหญ่ดำเนินการปฏิสังขรณ์รพระเจดีย์หลวง ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2021 ในรัชสมัยพระเจ้ายอดเชียงรายได้ปิดทองภายในซุ้มจรนัมของพระเจดีย์ หลวงทั้ง 4 ด้าน ในรัชสมัยพระเจ้าเมืองแก้ว เมื่อ พ.ศ. 2046 ได้โปรดให้สร้างหอพระแก้ว และอัญเชิญพระแก้วมรกตลงมาประดิษฐาน สร้างมหาวิหาร ส่วนการบูรณะพระเจดีย์หลวงได้ดำเนินการเพียงเล็กน้อย


          ในที่สุดเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ใน ปี พ.ศ. 2088 ในรัชสมัยพระนางเจ้ามหาเทวีจิรประภา ยอดพระเจดีย์หลวงก็พังทลายลงมา เหลือให้เห็นดังสภาพปัจจุบัน

          ที่ตั้ง :  ถนนพระปกเกล้า ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง เชียงใหม่




5.  วัดสวนดอก


          วัดสวนดอก หรือ วัดบุปผาราม สร้างขึ้นในภายในเวียงสวนดอก ซึ่งเป็นเขตพระราชอุทยานในสมัยราชวงศ์มังราย โดยใน ปี พ.ศ. 1914 พระเจ้ากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่ง ราชวงศ์มังราย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็น "พระอารามหลวง" เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของ "พระมหาเถระสุมน"[/b] ผู้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ในแผ่นดินล้านนา และสร้างองค์พระเจดีย์เพื่อประดิษฐาน "พระบรมสารีริกธาตุ" 1 ใน 2 องค์ ที่ "พระมหาเถระสุมน" อัญเชิญมาจากสุโขทัย ใน ปี พ.ศ. 1912 (องค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ในพระเจดีย์ ใน วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร)

          ในสมัยราชวงศ์มังราย วัดสวนดอก มีความเจริญรุ่งเรืองมาก แต่หลังจากสิ้น ราชวงศ์มังราย บ้านเมืองตกอยู่ในอำนาจพม่า ทั้งเกิดจลาจลวุ่นวาย วัดนี้จึงกลายสภาพเป็นวัดร้างไป วัดสวนดอก ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่อีกครั้ง ในรัชสมัย พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ แห่ง ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน) และได้รับการทำนุบำรุงจาก เจ้านายฝ่ายเหนือ และประชาชนเชียงใหม่มาโดยตลอด


          วัดสวนดอก ได้รับการบูรณะครั้งสำคัญ 2 ครั้ง ครั้งแรกใน ปี พ.ศ. 2450 พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญรวบรวมพระอัฐิ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และ พระประยูรญาติ มาประดิษฐานรวมกัน และต่อมาอีกครั้งหนึ่งใน ปี พ.ศ. 2475 เป็นการบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระวิหารโดย ครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา

          ที่ตั้ง :  ถนนสุเทพ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง เชียงใหม่




6.  วัดพระสิงห์ราชวรวิหาร


          วัดพระสิงห์ หรือมีชื่อเต็มว่า วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ เป็นวัดที่ประดิษฐาน พระสิงห์ (พระพุทธสิหิงค์) พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองเชียงใหม่และแผ่นดินล้านนา สร้างขึ้นในสมัย พญาผายู กษัตริย์เชียงใหม่ราชวงศ์มังราย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1888 ขั้นแรกให้ก่อสร้างเจดีย์สูง 23 วา เพื่อบรรจุพระอัฐิของพญาคำฟู พระราชบิดา ต่อมาอีก 2 ปี จึงได้สร้างพระอาราม เสนาสนวิหาร ศาลาการเปรียญ หอไตร และกุฏิสงฆ์ เมื่อเสร็จเรียบร้อย ทรงตั้งชื่อว่า “วัดลีเชียงพระ” สมัยพระเจ้าแสนเมืองมา ขึ้นครองนครเชียงใหม่ โปรดให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาจากเมืองเชียงราย มาประดิษฐาน

          ในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 วัดพระสิงห์ได้รับพระกรุณาโปรดให้ยกเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหารวัดพระสิงห์ยังเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวเชียงใหม่ที่ให้ความศรัทธาและจะเดินทาง มาเคารพ สักการะกันอย่างเนื่องแน่นเป็นประจำ ทุกปีเมื่อถึงช่วงเทศกาลสงกรานต์หรืองานประเพณีปี๋ใหม่เมือง ทางราชการ จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ขึ้นประดิษฐานบนรถบุษบกแห่ไปรอบเมืองเพื่อให้ศรัทธา ประชาชนได้พากันมา สรงน้ำเนื่อง ในเทศกาลปีใหม่ ตามคติล้านนา คนเกิดปีมะโรงต้องมาไหว้พระสิงห์ให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต

          พระพุทธรูปสำคัญ :  พระพุทธสิหิงค์ (พระสิงห์)
          ที่ตั้ง :  ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง เชียงใหม่




7.  วัดเจ็ดลิน


          วัดเจ็ดลิน เดิมเป็นวัดร้าง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นก่อนปีพุทธศักราช 2060 ที่เรียกว่า วัดเจ็ดลิน นั้น ภายในวัดมีหนองน้ำขนาดใหญ่อยู่ด้านหลัง ปัจจุบันยังมีสภาพที่สมบูรณ์อยู่ ตามประวัติกล่าวว่า ในอดีต กษัตริย์ ในราชวงศ์มังราย พระองค์ใด ก่อนจะขึ้นเสวยราชย์จะต้องไป ทรงผ้าชุดขาว (นุ่งขาวห่มขาว) ณ วัดผ้าขาว ก่อน จากนั้นจะเสด็จ ไปสะเดาะเคราะห์ ณ วัดหมื่นตูม และจะเสด็จไปประกอบพิธีสรงน้ำพุทธาภิเษก ณ หนองน้ำวัดเจ็ดลิน ในการประกอบพิธีราชาภิเษกนั้น จะทำรางน้ำ หรือที่ทางเหนือเรียกว่า “ลิน” ทำด้วยคำไว้ 7 ลิน แล้วนำน้ำพุทธาภิเษกใส่สุวรรณหอยสังข์ หล่อลงรางลินทำด้วยคำทั้ง 7 เพื่อสรงพระวรกาย จากนั้น จึงเปลี่ยนเครื่องทรงกษัตริย์ขึ้นเสวยราชย์ต่อไป


          จุดเด่นสำคัญของวัดเจ็ดลิน คือ สะพานโต่วะ เป็นสะพานไม้ไผ่ ตั้งอยู่ในบริเวณหนองน้ำของวัดเจ็ดลิน คำว่า โต่วะ เป็นภาษากะเหรี่ยง แปลว่า สะพานไม้ไผ่ โดยสะพานโต่วะนี้ทำขึ้นโดยสามเณรและพระของวัดเจ็ดลิน โดยสะพานจะทอดยาวข้ามหนองน้ำ เชื่อมต่อระหว่างสองฝั่ง

          นอกจากสะพานไม้โต่วะ ภายในวัดเจ็ดริน ยังมีสิ่งที่น่าสนใจอื่นๆ อีก เช่น วิหารแบบล้านนา พระพุทธรูปปางมารวิชัย เจดีย์สี่เหลี่ยมผสมทรงกลม หุ่นปั้นพระเถระ และศาลาริมน้ำ สำหรับใช้ในการเรียนการสอน และอ่านตำราทางพระพุทธศาสนา

          ที่ตั้ง :  ถนนพระปกเกล้า ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง เชียงใหม่


สรุป
          นอกจากวัดที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว เชียงใหม่ยังมีวัดอีกมากมาย ที่ตั้งอยู่รอบเมือง ซึ่งแต่ละวัดมีประวัติแตกต่างกันออกไป แต่สิ่งหนึ่งที่มีความเหมือนกันคือ สถาปัตยกรรมที่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ใครผู้คนได้ชมความงามและไปสักการะพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ ณ วัดต่างๆ อีกทั้งยังเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ด้วยความสงบและเรียบง่ายนี่เองทำให้เป็นเสน่ห์ที่ผู้คนต่างหลงใหล

เรียบเรียงโดย :  "เชียงใหม่นิวส์"






ลุงซุป เชียงใหม่ ศุภชัย นันท์วโรทัย     081-032-1805    
 soup.van.cnx.    ID: 0810321805    soupvancnx     soup.van@hotmail.com

 

เว็บพันธมิตร, แลกลิ้งค์ เว็บบ้านพัก "แม่กลางหลวงฮิลล์" | ร้านชาสา บ้านรักไทย | เว็บรถป็อปดอทคอม | เว็บจีพีเอสเที่ยวไทยดอทคอม | เว็บพิจิตรบ้านเราดอทคอม
หน่วยงานการท่องเที่ยว การท่องเที่ยว (ททท.) | ททท.ภาคกลาง | ททท.ภูมิภาคภาคตะวันออก | กรม อช.สัตว์ป่าและพันธุ์พืช | จองที่พัก อช.ระบบออนไลน์ | จังหวัดแม่ฮ่องสอน | ททท. สนง.แม่ฮ่องสอน | ศูนย์ศิลปาชีพ จ.แม่ฮ่องสอน | กระทรวงวัฒนธรรม | ศูนย์ข้อมูลมรดกโลก(ก.วัฒนธรรม) | สำนักอุทยานแห่งชาติ | เว็บโครงการหลวงฯ
คมนาคม, ขนส่ง การบินไทย | โอเรี่ยนไทย | แอร์เอเชีย | Solar Air | บางกอกแอร์เวย์ | บริษัทขนส่งจำกัด (บขส.) | การรถไฟแห่งประเทศไทย | สมบัติทัวร์ | เชิดชัยทัวร์ | สยามเฟิสท์ทัวร์ | นครชัยแอร์ | รถทัวร์ไทยดอทคอม | ติดตามการส่งพัสดุEMS | ตรวจผลสลาก.. | speedtest.adslthailand.com | speedtest.net | speedtest.or.th